วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หน้าที่ของพุทธบริษัท ๒


หน้าที่พุทธบริษัท ๔ 

          ๑. พุทธบริษัท ๔  ต้องเป็นผู้รู้  เข้าใจ  และสามารถปฏิบัติธรรมได้ถูกต้องตาม
              พระพุทธธรรมคำสอน  ๘๔,๐๐๐  พระธรรมขันธ์
        ๒. พุทธบริษัท ๔  ต้องสามารถ แนะนำ  สั่งสอนผู้อื่น ให้ปฏิบัติตามได้อย่าง
              ถูกต้อง   ตามพระธรรมวินัย  ๘๔,๐๐๐  พระธรรมขันธ์
          ๓. เมื่อมีผู้ใดกล่าว  ติเตียน  จ้วงจาบ  แสดงคำสอน  ผิดพลาด พุทธบริษัท ๔
              ต้องสามารถ ชี้แจง  แก้ไข  ให้ถูกต้อง  ตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา  
ดังพระผู้มีพระภาค เจ้าตรัสกับพระยามาราธิราชว่า
"ดูก่อนมารผู้มีบาป
           ภิกษุ   ภิกษุณี   อุบาสก   อุบาสิกา    ผู้เป็น สาวก สาวิกา  
           ของตถาคตยังไม่ฉลาด   ไม่ได้รับแนะนำ   ยังไม่แกล้วกล้า
           ไม่เป็นพหูสูต  ไม่ทรงธรรม  ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
           ไม่ปฏิบัติชอบ  ไม่ประพฤติตามธรรม  เรียนกับอาจารย์ของตน
           จักบอก   จักแสดง    จักบัญญัติ    จักแต่งตั้ง   จักเปิดเผย 
           จักจำแนก   จักทำให้ตื้น    จักแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ข่มขี่
           ปรับปวาทที่เกิดขึ้น  ให้เรียบร้อยโดยสหธรรมไม่ได้ เพียงใด
           ดูก่อนมารผู้มีบาป  ตถาคตจักยังไม่ปรินิพพาน  เพียงนั้น"

                                                      (มหาปรินิพพานสูตร)

                       เราท่านทั้งหลายต้องอนุโมทนาสาธุการต่อพระยามาราธิราช  
                       ที่ท่านทูลอาราธนาพระผู้มี
พระภาคเจ้าให้ทรงปรินิพพานนั่นหมายถึง  
                       เป็นเหตุให้เกิดพุทธบริษัท ๔  และมีหน้าที่ของพุทธบริษัท ๔  เกิดขึ้น
                       เพื่อความมั่นคง สถาวรของพระพุทธศาสนาสืบไป 
                              
       พระยามาราธิราชทูลอาราธนาปรินิพพาน  เพื่อเอื้อประโยชน์  
                       แก่พุทธบริษัท  ๔  อันเป็นประเพณีของพระโพธิสัตว์
                              
                      (พระยามาราธิราช) 

                       พุทธบริษัท  ๔  :  ภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  อุบาสิกา  
                              
                    (สามเณร  สามเณรี  สิกขมานา  ปัณฑรังคบรรพชิต)
                              
                    
คัดมาจากหนังสือ  : กฐิน  (ถูกต้องตามพระธรรมวินัย)  ผู้แต่ง  อนุโมทนาพระธรรมวินัย
 
หมายเหตุ :   พุทธบริษัท     คือ หมู่ชนที่นับถือพระพุทธศาสนามี ๔ จำพวกคือภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  อุบาสิกา
                  สิกขมานา       แปลว่า "สิกขา" หมายถึง "ศึกษา" เป็นคำเรียกผู้ที่ถือศีล ๖ ข้อก่อนที่จะบวชเป็น
                                      ภิกษุณีหรือเรียก ว่าสามเณรีก็เรียก (ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/สิกขมานา)
                  ปัณฑรังคะ     แปลว่า  ผู้นุ่งขาวห่มขาว

หน้าที่ของพุทธบริษัท ๑


ธรรม 4 ประการสำหรับพุทธบริษัทที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ดังนี้
มัจฉริยะ  บุคคลที่มีความตระหนี่ ไม่ทำบุญให้ทานแก่ผู้ควรให้ วิบากนี้จะทำให้กลายเป็นหรือบันดาลให้เป็นผู้ขัดสน เป็นคนยากจนในทรัพย์สินสมบัติทั้งปวง  ในภพชาติต่อ ๆ ไป  อีกทั้งยังขวางกั้นทางปฏิบัติอันก้าวสู่มรรคผลอีกด้วย  เหตุเพราะการให้ทานเป็นหนึ่งในบารมีที่เราต่างรับทราบกันดีว่า พระชาติสุดท้ายแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  คือพระเวสสันดร  ที่ทรงบำเพ็ญทานบารมีนั่นเอง
ปริจาคะ  เป็นธรรมข้อตรงข้ามกับมัจฉริยะ  คือบุคคลที่มีการบริจาคทรัพย์สมบัติของตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ได้แก่ความไม่ตระหนี่ถี่เหนียว มีความยินดีในการทำบุญกุศล ทำกรรมดีนั้นย่อมบันดาลให้เป็นคนมั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินสมบัติทั้งชาตินี้และชาติหน้า  อันนี้เป็นข้อปริจาคะของคฤหัสถ์

ลิ้นชัก 3 ใบ‏

คนเราจะมีลิ้นชัก 3 ใบ ในการจัดเก็บข้อมูล



ลิ้นชักแรก “ใช่”

ลิ้นชักที่สอง “ไม่ใช่”

และลิ้นชักที่สาม “ไม่แน่ใจ”



ทุกข้อมูลที่เข้าสู่การรับรู้ของเรา จะถูกบรรจุใน 3 ลิ้นชัก

คนที่มีความ สุขกับชีวิต ต้องมีลิ้นชัก “ไม่แน่ใจ” ใหญ่ที่สุด

ข้อมูลที่เข้ามา ถ้าชัดเจนว่า “ใช่” หรือ “ไม่ใช่”

ให้ใส่ไว้ในลิ้นชัก “ไม่แน่ใจ” ก่อน อย่า ด่วนสรุปเป็นอันขาด…

สะสมแต้มไปเรื่อยๆ จนชัดเจนระดับเป็นอื่นไปไม่ได้แล้ว

ค่อยโยกย้ายข้อมูลไปสู่ลิ้นชัก “ใช่” หรือ “ไม่ใช่”


วิธีทำให้เกิดบุญ 10 อย่าง‏



วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มหาสุวราชชาดก

พญานกแขกเต้าผู้สันโดษ
          ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง ตรัสให้โอวาทว่า "ภิกษุ ธรรมดาสมณเมื่อมาถึงเสนาสนะเป็นที่สบายแล้วก็ไม่ควรโลภในอาหาร ยินดีตามมีตามได้ ปฏิบัติสมณธรรม โบราณบัณฑิตแม้เป็นสัตว์ดิรัจฉาน กินผงแห้งของต้นไม้ที่ตนอยู่อาศัย มีความสันโดษไม่ทำลายมิตธรรมหนีไปที่อื่นเลย" แล้วได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทิปิชาดก

แพะกับเสือเหลือง
          ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ทรงปรารภแม่แพะตัวหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...
          กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นฤๅษีบำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าหิมพานต์เป็นเวลานาน ต่อมาได้สร้างบรรณศาลาที่ซอกเขาแห่งหนึ่งใกล้เมืองราชคฤห์ ทุกวันพวกคนเลี้ยงแพะจะพากันต้อนแพะมาเลี้ยงที่ซอกเขาใกล้ที่อยู่ของพระฤๅษีนั้นเป็นประจำ เพราะมีภูเขาล้อมรอบเมื่อปล่อยแพะแล้ว พวกเขาก็จะพากันเล่น ตกเย็นถึงจะไปต้อนแพะกลับบ้านไป

วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อัฏฐสัททชาดก

เสียงสัตว์ ๘ ชนิด
          ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภเสียงแสดงความแร้นแค้นอันน่าสพึงกลัวที่พระเจ้าโกศลได้สดับในเวลาเที่ยงคืน ได้ตรัสอดีตนิทานมาสธก ว่า...
          กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นฤๅษีบำเพ็ญพรตอยู่ในป่าหิมพานต์ ต่อมาปีหนึ่งได้เข้าไปพำนักอยู่ในสวนหลวงของพระเจ้าพรหมทัต ผู้ปกครองเมืองพาราณสี โดยที่ระราชาไม่ทรงทราบได้ ในคืนหนึ่ง เวลาเที่ยงคืนขณะที่พระราชากำลังบรรทมอยู่นั้นได้สดับเสียบ ๘ เสียงติดต่อกันไม่ขาดสาย คือ