วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก


ก่อนสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฏก พึงคุกเข่าพนมมือตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย 
นมัสการพระรัตนตรัย นมัสการพระพุทธเจ้า นมัสการพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ 
ขอให้ตั้งจิตมั่นในบทสวดมนต์จะมีเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุการ 
อย่าได้ทำเล่นจะเกิดโทษแก่ตัว

คาถายอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก ฉบับนี้ ได้มาจากต้นฉบับเดิมที่จารไว้บนใบลานเป็นอักษรขอมซึ่ง เปิดกรุครั้งแรกที่เมืองสวรรคโลก มีบันทึกเอาไว้ว่าผู้ใดสวดมนต์ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก เป็นประจำทุกเช้าเย็น จะป้องกันภัยอันตรายต่างๆได้รอบด้าน ภาวนาพระคาถาอื่นสัก ๑๐๐ ปีก็ไม่เท่ากับอานิสงส์ของการสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก นี้เพียงครั้งเดียว ผู้ใดที่สวดครบ ๗ วัน หรือครบอายุปัจจุบันของตัวเอง จะมีโชคลาภ ทำมาค้าขายรุ่งเรือง ปราศจากภัยพิบัติทั้งปวง

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วินัยชาวพุทธ ๓


ชาวพุทธชั้นนำ

            ชาวพุทธที่เรียกว่า อุบาสก อุบาสิกา นับว่าเป็นชาวพุทธชั้นนำจะต้องมีความเข้มแข็งที่จะตั้งมั่นอยู่ในหลัก ให้เป็นตัวอย่างแก่ชาวพุทธทั่วไป นอกจากรักษา วินัยชาวพุทธ แล้ว ต้องมี อุบาสกธรรม ๕ ดังนี้

            ๑. มีศรัทธา เชื่อประกอบด้วยปัญญา ไม่งมงาย มั่นในพระรัตนตรัย ไม่หวั่นไหว ไม่แกว่งไกว ถือธรรมเป็นใหญ่และสูงสุด

วินัยชาวพุทธ ๒


หมวดสอง
นำชีวิตให้ถึงจุดหมาย

ก. จุดหมาย ๓ ชั้น ดำเนินชีวิตให้บรรลุจุดหมาย (อัตถะ) ๓ ขั้น คือ
ขั้นที่ ๑ ทิฏฐธัมมิกัตถะ จุดหมายขั้นตาเห็น หรือ ประโยชน์ปัจจุบัน
           ก) มีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง ไร้โรค อายุยืน
           ข) มีเงินมีงาน มีอาชีพสุจริต พึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ
           ค) มีสถานภาพดี เป็นที่ยอมรับนับถือในสังคม
           ง) มีครอบครัวผาสุก ทำวงศ์ตระกูลให้เป็นที่นับถือ
           ทั้ง ๔ นี้ พึงให้เกิดมีโดยธรรม และใช้ให้เป็นประโยชน์ ทั้งแก่ตนและผู้อื่น

วินัยชาวพุทธ


หมวดหนึ่ง 
วางฐานชีวิตให้มั่น

            ชาวพุทธจะต้องดำเนินชีวิตที่ดีงาม และร่วมสร้างสรรค์สังคมให้เจริญมั่นคง ตามหลัก วินัยของคฤหัสถ์ (คิหิวินัย) ดังนี้

กฎ ๑ : เว้นชั่ว ๑๔ ประการ
ก. เว้นกรรมกิเลส (บาปกรรมที่ทำให้ชีวิตมัวหมอง) ๔ คือ
            ๑. ไม่ทำร้ายร่างกายทำลายชีวิต (เว้นปาณาติบาติ)
            ๒. ไม่ลักทรัพย์ละเมิดกรรมสิทธิ์ (เว้นอทินนาทาน)
            ๓. ไม่ประพฤติผิดทางเพศ (เว้นกาเมสุมิจฉาจาร)
            ๔. ไม่พูดเท็จโกหกหลอกลวง (เว้นมุสาวาท)