พระอานนท์ _____________
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็จะควรเรียกว่า
ภิกษุผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาทด้วยเหตุอันใด ฯ
พระพุทธเจ้า _____________
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า
ทรงแสดงธรรมอิทัปปัจจยตา
เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น ผลนี้จึงเกิดขึ้น
เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ คือ
ทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทแบบอนุโลม (พิจารณาการเกิดของทุกข์เป็นลําดับขั้น)
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
อย่างนี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทแบบปฎิโลม (พิจารณาการดับของทุกข์เป็นลําดับขั้น)
แต่เพราะอวิชชานั่นแลดับด้วยวิราคะไม่มีส่วนเหลือ จึงดับสังขารได้
เพราะสังขารดับ จึงดับวิญญาณได้
เพราะวิญญาณดับ จึงดับนามรูปได้
เพราะนามรูปดับ จึงดับสฬายตนะได้
เพราะสฬายตนะดับ จึงดับผัสสะได้
เพราะผัสสะดับ จึงดับเวทนาได้
เพราะเวทนาดับ จึงดับตัณหาได้
เพราะตัณหาดับ จึงดับอุปาทานได้
เพราะอุปาทานดับ จึงดับภพได้
เพราะภพดับ จึงดับชาติได้
เพราะชาติดับ จึงดับชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ได้
อย่างนี้เป็นความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ดูกรอานนท์ ด้วยเหตุเท่านี้แล
จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท
(พระสุตตันตปิฎก เล่ม๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ข้อ๒๔๔ หน้า๑๖๔)
------------------------------------------------------
มีพุทธพจน์ตรัสเตือนไว้ ไม่ให้ประมาทหลักปฏิจจสมุปบาทนี้
มีพุทธพจน์ตรัสเตือนไว้ ไม่ให้ประมาทหลักปฏิจจสมุปบาทนี้ว่าเป็นหลักเหตุผลที่เข้าใจง่าย เพราะมีเรื่องที่พระอานนท์เข้าไปกราบทูลพระองค์ และพระองค์ได้ตรัสตอบ มีความดังนี้
"น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาเลยพระเจ้าข้า หลักปฏิจจสมุปบาทนี้ถึงจะเป็นธรรมลึกซึ้ง และปรากฏเป็นของลึกซึ้ง แต่ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนเป็นธรรมง่ายๆ"
"อย่ากล่าวอย่างนั้น อย่ากล่าวอย่างนั้น อานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมอันลึกซึ้ง และปรากฏเป็นของลึกซึ้ง เพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่แทงตลอดหลักธรรมข้อนี้แหละ หมู่สัตว์นี้จึงวุ่นวายเหมือนเส้นด้ายที่ขอดกันยุ่ง..........ฯลฯ."
(ที่มา สํ.นิ. ๑๖/๒๒๔-๕/๑๑๐-๑)
------------------------------------------------------
ทรงท้อพระทัยในการแสดงธรรม
ปฏิจจสมุปบาท และ นิพพาน
(พระไตรปิฎก ๑๓/๕๐๙ ตรัสแก่โพธิราชกุมาร)
หรือหนังสือ "พุทธประวัติจากพระโอษฐ์" หน้าที่ ๑๙๐
แปลโดย
ท่านพุทธทาส
------------------------------------------------------
ทรงมีความขวนขวายน้อย
[๕๐๙] ราชกุมาร ! ความคิดข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้เป็นธรรมอันลึก สัตว์อื่นเห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม,
เป็นธรรมระงับและประณีตไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่ายๆแห่งความตรึก
เป็นของละเอียด เป็นวิสัยรู้ได้เฉพาะบัณฑิต, ก็สัตว์เหล่านี้ มีอาลัยเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในอาลัย เพลิดเพลินแล้วในอาลัย, สําหรับสัตว์ผู้มีอาลัยแล้วเป็นที่ยินดี ยินดีเพลิดเพลินในอาลัยนั้น. ยากนักที่จะเห็นฐานะปฏิจจสมุปบาท คือ สภาพที่อาศัยกันเกิดขึ้นเพราะความมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย, และยากนักที่จะเห็นธรรม(อัน)เป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง(นี้), คือธรรมอันถอนอุปธิทั้งสิ้น ความสิ้นตัณหา ความคลายกําหนัด ความดับไม่เหลือ และนิพพาน. หากเราพึงแสดงธรรมแล้ว สัตว์อื่นไม่พึงรู้ทั่วถึง(ไม่เข้าใจ) ข้อนั้นจักเป็นการเหนื่อยเปล่าแก่เรา. โอ, ราชกุมาร ! คาถาอันอัศจรรย์เหล่านี้ที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ได้ปรากฎแจ่มแจ้งแก่เราว่า "กาลนี้ ไม่ควรประกาศธรรมที่เราบรรลุได้แล้วโดยยาก. ธรรมนี้สัตว์ที่ถูกราคะโทสะรวบรัดแล้ว ไม่รู้ได้โดยง่ายเลย. สัตว์ที่กําหนัดด้วยราคะ ถูกกลุ่มมืดห่อหุ้มแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันให้ถึงที่ทวนกระแส อันเป็นธรรมละเอียดลึกซึ้งเห็นได้ยากเป็นอณู." ดังนี้. ราชกุมาร ! เมื่อเราพิจารณาเห็นดังนี้, จิตก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อยไม่น้อมไปเพื่อแสดงธรรม.
------------------------------------------------------
ในครั้งแรก จึงน้อมพระทัยที่จะไม่แสดงธรรมที่ตรัสรู้แล้วดำเนินต่อด้วยบทที่กล่าวถึงสหัมบดีพรหม มาปรากฏกาย ทูลอารธนาให้แสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์
๖๖. พรหมอาราธนา
------------------------------------------------------
แล้วดำเนินต่อด้วยบทที่กล่าวถึงเมื่อทรงฟังคำทูลอารธนาของสหัมบดีพรหม จึงทรงพิจารณาแล้วเห็นว่า
๖๗. ทรงเห็นสัตว์ดุจดอกบัว ๓ เหล่า
------------------------------------------------------
ในภายหลังได้กล่าวถึงว่าเมื่อทรงพิจารณาเห็นว่า สรรพสัตว์ทั้งหลายดุจดอกบัว อันมีบางเหล่าสามารถงอกงามบานสะพรั่งได้
จึงเป็นเหตุให้้ตัดสินพระทัย แสดงธรรมที่ทรงตรัสรู้เพราะความจำเป็นของสัตว์บางพวก
๖๘. ทรงแสดงธรรมเพราะเห็นความจำเป็นของสัตว์บางจำพวก
------------------------------------------------------
แล้วดำเนินต่อด้วยบทที่กล่าวถึง
๖๙. ทรงเห็นลู่ทางที่จะช่วยเหลือปวงสัตว์
ฯลฯ.
------------------------------------------------------
หาอ่านรายละเอียดได้ในหนังสือ
"พุทธประวัติจากพระโอษฐ์"
อันเป็นพระพุทธดํารัส เรื่องพระพุทธประวัติโดยพระโอษฐ์ของพระพุทธองค์เอง
ตามหลักฐานพระไตรปิฏก
แต่ท่านพุทธทาสได้เพียรเรียบเรียงดําเนินเรื่องให้เป็นไปตามพระพุทธประวัติ
โดย
ท่านพุทธทาส
บทสวด ปฏิจจสมุปบาท จากพระโอษฐ์ สายเกิด
อิธะ ภิกขะเว อริยะสาวะโก ปะฏิจจะสะมุปปาทัญเญวะ สาธุกัง โยนิโส มะนะสิกะโรติ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ย่อมกระทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดีซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า
อิมัส๎มิง สะติ อิทัง โหติ
ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี
อิมัสสุปปาทา อิทัง อุปปัชชะติ
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
อิมัส๎มิง อะสะติ อิทัง นะ โหติ
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี
อิมัสสะ นิโรธา อิทัง นิรุชฌะติ
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป
ยะทิทัง
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ
อะวิชชาปัจจะยา สังขารา
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
สังขาระปัจจะยา วิญญาณัง
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
วิญญาณะปัจจะยา นามะรูปัง
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
นามะรูปะปัจจะยา สะฬายะตะนัง
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
สะฬายะตะนะปัจจะยา ผัสโส
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
ผัสสะปัจจะยา เวทะนา
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เวทะนาปัจจะยา ตัณหา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
อุปาทานะปัจจะยา ภะโว
เพราะมีอุปทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
ภะวะปัจจะยา ชาติ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
ชาติปัจจะยา ชะรามะระณัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา สัมภะวันติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะสะมุทะโย โหติ
๏ บทสวด ปฏิจจสมุปบาท จากพระโอษฐ์ สายดับ
นิทาน.สํ. ๑๖/๘๕/๑๕๙
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
อะวิชชายะเต๎ววะ อเสสะวิราคะนิโรธา สังขาระนิโรโธ
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร
สังขาระนิโรธา วิญญาณะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
วิญญาณะนิโรธา นามะรูปะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
นามะรูปะนิโรธา สะฬายะตะนะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
สะฬายะตะนะนิโรธา ผัสสะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
ผัสสะนิโรธา เวทะนานิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เวทะนานิโรธา ตัณหานิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
ตัณหานิโรธา อุปาทานะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
อุปาทานะนิโรธา ภะวะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
ภะวะนิโรธา ชาตินิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
ชาตินิโรธา ชะรามะระณัง โสกะปะริเทวะ-
ทุกขะโทมะนัสสุปายาสา นิรุชฌันติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสะทั้งหลายจึงดับสิ้น
เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ นิโรโธ โหตีติ
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น