วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557

พระเกตุ

ปางสมาธิเพชร (วันพระเกตุ)


พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งเป็นพิเศษ คือนั่งขัดสมาธิไขว้พระชงฆ์ ยกฝ่าพระบาททั้งสองหงายขึ้นมาวางบนพระเพลา พระหัตถ์ทั้งสองก็ยกขึ้นมาวางซ้อนกัน ทับฝ่าพระบาทอีกทีหนึ่ง นิยมเรียกว่า พระขัดสมาธิเพ็ชร

พระพุทธรูปปางนี้ มีตำนานดังนี้


พระปางสมาธิเพชร นิยมสร้างขึ้นเป็นพระบูชาสำหรับคนเมื่อพระเกตุเสวยอายุ

คนเกิดวันเสาร์

ปางนาคปรก

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา มีพญานาคแผ่พังพานปกคลุมเบื้องบนพระเศียร บางแห่งสร้างเป็นแบบขัดสมาธิเพชร

พระนาคปรกนี้มี ๒ แบบ คือ แบบหนึ่งประทับนั่งสมาธิบนขนดพญานาค แบบหนึ่งประทับนั่งสมาธิภายในวงขนดพญานาค คือพญานาคขดตัวล้อมพระกายไว้ถึงพระอังสา เพื่อป้องกันลมฝนตามตำนาน

พระพุทธรูปปางนี้ มีตำนานดังนี้

คนเกิดวันศุกร์

ปางรำพึง

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายเป็นกิริยารำพึง บางแห่งสร้างเป็นแบบนั่งก็มี

พระพุทธรูปปางนี้ มีตำนานดังนี้

เมื่อตปุสสะ ภัลลิกะ สองพานิชกราบทูลลาไปแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จจากร่มไม้ราชายตนะพฤกษ์ ไปประทับที่ร่มไม้อชปาลนิโครธอีกครั้งหนึ่งในคราวประทับครั้งนี้มีพระหฤทัยทรงรำพึงถึงธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้วนั้นว่า เป็นธรรมประณีตละเอียด สุขุมคำภีรภาพยากที่บุคคลจะรู้ได้ ทำให้ท้อแท้พระทัย ถึงกับทรงดำริจะไม่แสดงธรรมแก่มหาชน

คนเกิดวันพฤหัสบดี

ปางสมาธิ/ตรัสรู้ (วันพฤหัสบดี)


 พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์(แข้ง) ขวาทับพระชงฆ์ซ้า

ประวัติย่อ

ในเช้าของคืนวันที่จะตรัสรู้นั้น พระโพธิสัตว์สิตธัตถะ หลังเสวยข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดานำมาถวายแล้ว ก็ได้ทรงอธิษฐานเสี่ยงทายถาดทองคำที่แม่น้ำเนรัญชรา แล้วประทับยับยั้งอยู่ที่นั้นจนตะวันบ่ายคล้อยเสด็จกลับมายังต้นพระศรีมหาโพธิ์ ในระหว่างทาง ได้ทรงรับหญ้าคา 6 กำมือ จากโสตถิยะพราหมณ์ จึงนำมาปูลาด ณ ใต่ต้นไม่ พระศรีมหาโพธิ์แทนบัลลังก์ แล้วขึ้นประทับนั่งผันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ผันพระปฤษฏางค์ ให้ลำต้นพระศรีมหาโพธิ์ แล้วจึงทรงอธิษฐานพระทัยว่า จักไม่ลุกจากบัลลังก์นี้ ตามใดที่ยังไม่ได้บรรลุพระสัมโพธิญาณ แม้ว่าเนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไปจนเหลือเพียงหนังหุ้มกระดูกก็ตามทีหลังจากอธิษฐานจิตพระองค์ก็ได้เผชิญกับการทำสงครามกับพญามาราธิราชพร้อมเสนาหมู่ใหญ่ แต่พระองค์ก็สามารถเอาชนะได้ด้วยพระบารมีต่างๆก่อนที่พระอาทิตย์จะอัสดงคตเล็กน้อย จากนั้นก็ได้เจริญภาวนาจนได้บรรลุพระญาณต่างๆ ไปตามลำดับ คือ

คนเกิดวันพุธ(กลางคืน)

ปางปาลิไลยก์ (วันพุธกลางคืน)

พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) บนก้อนศิลา พระบาททั้งสองวางบนดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายวางค่ำบนพระขนะ (เข่า)พระหัตถ์ขวาวางหงายนิยมสร้างช้างหมอบใช้งวงจับกระบอกน้ำ อีกด้านหนึ่งมีลิงถือรวงผึ้งถวาย

ประวัติย่อ

ในสมัยหนึ่งพระวินัยธรและพระธรรมกถึกชาวเมืองโกสัมพี ได้ก่อความทะเลาะวิวาทกันขึ้นในโฆสิตารามด้วยเรื่องการยกโทษกันเกี่ยวกับวินัย จนหมู่ภิกษุตลอดถึงอุบาสก อุบาสิกาเกิดแตกแยกกันขึ้นเป็น 2 ฝ่ายแม้พระพุทธองค์จะทรงเข้าไปไกล่เกลี่ยให้สงฆ์ปรองดองกันเสียแต่ก็ไม่มีใครเชื่อฟังพระโอวาทนั้น ทำให้พระองค์ทรงเหนื่อยหน่ายความถือรั้นด้วยทิฏฐิมานะของภิกษุเหล่านั้นจึงเสด็จไปยังราวป่าอันเป็นที่อยู่ของช้างชื่อปาริเลยยกะ เพียงพระองค์เดี่ยวโดยไม่อำลาใครๆและได้ประทับอยู่ที่ราวป่านั้นเพียงลำพัง โดยมีช้างปาริเลยยกะคอยปรนนิบัติทำกิจวัตรต่างๆ แต่พระศาสดา ทำให้ชัฏป่าแห่งนั้นได้ชื่อว่า รักชิตวัน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

คนเกิดวันพุธ(กลางวัน)

ปางอุ้มบาตร

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน ส้นพระบาททั้งสองชิดกัน พระหัตถ์ทั้งสองยกประคองบาตรราวสะเอว มีบาตรวางอยู่ที่ฝ่าพระหัตถ์ในท่าประคองด้วย นิยมเรียกว่าปางอุ้มบาตร นิยมสร้างขึ้นเป็นพระประจำวัน ของคนเกิดวันพุธ

พระพุทธรูปปางนี้ มีตำนานดังนี้

เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จไปยังพระนครกบิลพัสดุ์ ครั้งแรกทรงทำอิทธิปาฏิหาริย์เหาะขึ้นไปบนอากาศ ทรมานให้พระประยูรญาติให้ถวายบังคมแล้วเสด็จลงมาประทับนั่งยังพระบวรพุทธอาสน์ ยังฝนโบกขรพรรษให้ตกลงในท่ามกลางสมาคมพระญาติ แล้วทรงประกาศมหาเวสสันดรชาดกยกขึ้นเป็นเทศนา มีข้อความตามนัยที่พรรณนาไว้ในเรื่องพระพุทธรูปปางทำอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นปางที่ ๒๘ สำหรับพระพุทธรูปปางที่ ๒๙ คือปางอุ้มบาตรนี้มีเรื่องต่อเนื่องมาว่า ครั้นพระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมจบแล้วบรรดาพระญาติทั้งหลายมีพระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดา เป็นประธาน ก็ได้ความเบิกบานปีติปราโมทย์ เปิดพระโอษฐ์ซ้องสาธุการแล้วพระญาติทั้งหลายก็กราบทูลลา

คนเกิดวันอังคาร

ปางโปรดอสุรินทราหู

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนอนตะแคงข้างขวา พระบาทซ้ายทับพระบาทขวาเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบทอดไปตามพระกาย  พระกัจฉะ (รักแร้) ทับบนพระเขนย อุ้งพระหัตถ์ขวาขึ้นประคองพระเศียรให้ตั้งขึ้น (พระนอนใหญ่ ๆ สร้างแบบนี้ทั้งนั้น ดูพระนอนวัดพระเชตุพนและพระนอนวัดราชโอรสาราม เขตจอมทอง (บางขุนเทียน) กรุงเทพฯ เป็นตัวอย่าง)

พระพุทธรูปปางนี้ มีตำนานดังนี้

คนเกิดวันจันทร์

ปางห้ามสมุทร

(เรียกเต็มว่า ปางห้ามพระญาติแย่งน้ำในสมุทร)

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองข้างยกขึ้นเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาห้ามเป็นแบบพระทรงเครื่องก็มี

พระพุทธรูปปางนี้ มีตำนานดังนี้

เมื่อพระบรมศาสดาทรงโปรดพระยสะแล้ว ต่อมาก็แสดงธรรม โปรดวิมละ สุพาหุ ปุณณชิ และควัมปติ เสฏฐีบุตร รวม ๔ คน กับมาณพอีก ๕o คน ซึ่งล้วนเป็นเพื่อนของพระยสะ ให้สำเร็จแล้วประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา รวมเป็นอริยสงฆ์สาวก ๖o องค์ด้วยกัน เมื่อพระบรมศาสดาทรงเห็นว่า บัดนี้ควรจะประกาศศาสนาได้แล้ว จึงตรัสเรียกพระสาวกทั้ง ๖o องค์มาแล้ว ทรงรับสั่งว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราได้พ้นแล้วจากบ่วงทั้งหลาย ทั้งที่เป็นของทิพย์และของมนุษย์ แม้พวกเธอทั้งหลาย ก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งหลายเช่นกัน พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ชนทั้งหลาย เพื่ออนุเคราะห์แก่ประชุมชน เพื่อประโยชน์สุขแก่เทวดาและมนุษย์ แต่อย่ารวมกันไปทางเดียวตั้งแต่สองรูปจงแยกกันไปแสดงธรรมประกาศพรหมจรรย์ สัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีในนัยน์ตาน้อยมีอยู่ สัตว์พวกนี้ย่อมเสื่อมจากคุณที่ควรได้ เพราะโทษที่ไม่ได้ฟังธรรมเมื่อได้ฟังธรรมแล้ว สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมีเป็นแน่ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราเองก็จักไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคมเพื่อแสดงธรรมเช่นเดียวกัน"

คนเกิดวันอาทิตย์

ปางถวายเนตร
พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน ยกพระหัตถ์น้อย ๆ ลืมพระเนตรทั้งสองเต็มที่ ทอดพระเนตรดูมหาโพธิพฤกษ์ พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานทับกันอยู่หน้าพระเพลา พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในพระอาการสังวร

พระพุทธรูปปางนี้ มีตำนานดังนี้

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วประทับเสวยวิมุติสุขอยู่ที่ร่มมหาโพธิ์ ๗ วัน ซึ่งเป็นประวัติของพระพุทธรูปปางที่ ๑๐ คือ ปางตรัสรู้ แล้วก็เสด็จจากร่มไม้มหาโพธิ์ ไปประทับยืนกลางแจ้งทางทิศอีสานของต้นมหาโพธิ์นั้น ทรงทอดพระเนตรต้นมหาโพธิ์โดยไม่กระพริบพระเนตรด้วยพระอิริยาบถนั้นถึง ๗ วัน สถานที่เสด็จประทับยืนด้วยพระอิริยาบถนั้นเป็นนิมิตรมหามงคลเรียกว่า "อนิมิสสเจดีย์"

พระพุทธจริยาที่ทรงจ้องพระเนตรดูไม้มหาโพธิ์ โดยมิได้กระพริบพระเนตรถึง ๗ วันนี้ เป็นเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูปปางนี้ เรียกว่า "ปางถวายเนตร"