วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557

พระเกตุ

ปางสมาธิเพชร (วันพระเกตุ)


พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งเป็นพิเศษ คือนั่งขัดสมาธิไขว้พระชงฆ์ ยกฝ่าพระบาททั้งสองหงายขึ้นมาวางบนพระเพลา พระหัตถ์ทั้งสองก็ยกขึ้นมาวางซ้อนกัน ทับฝ่าพระบาทอีกทีหนึ่ง นิยมเรียกว่า พระขัดสมาธิเพ็ชร

พระพุทธรูปปางนี้ มีตำนานดังนี้


พระปางสมาธิเพชร นิยมสร้างขึ้นเป็นพระบูชาสำหรับคนเมื่อพระเกตุเสวยอายุ

ตำนานพระพุทธรูปปางนี้ ไม่ปรากฏ ทราบกันแต่เพียงว่าเป็นปางประทับนั่งพักในเวลากลางวัน ความจริงการนั่งท่านี้ไม่ใช่นั่งสบาย จะว่านั่งพักก็ดูกระไรอยู่ กลับจะตรงข้าม สังเกตดูตามอาการจะต้องเป็นเรื่องทรงตั้งพระทัยทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ไม่ใช่นั่งพักหาความสบายอย่างนั่งไขว้ห้างแต่ไม่มีเรื่องเล่าไว้ จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จะยกขึ้นพูดเอาเองตามใจชอบ ขอฝากผู้สนใจในพระปางนี้ไว้จะพึงค้นคว้าสืบไป

พระปางนี้ ในสมัยก่อน คงจะมีผู้สนใจน้อย จึงหาชมยาก จะมีบ้างก็เป็นพระขนาดเล็ก ในสมัยรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ ๔ ทรงนำสร้างขึ้นเมื่อปลายรัชกาล เรียกว่าพระนิรันตราย แต่ก็เป็นพระขนาดเล็ก แบบพระบูชา มีคนศรัทธาสร้างตามเสด็จน้อย ไม่เหมือนปางทรงเครื่องซึ่งสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ รัชกาลที่ ๓ ทรงนำสร้างปรากฏว่ามีคนศรัทธาสร้างตามเสด็จมากมาย แม้เมื่อในปลายรัชกาลที่ ๖ สมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงสร้างพระนิโรคันตรายเป็นพระบูชาอย่างพระนิรันตรายในรัชกาลที่ ๔ ก็ไม่โปรดแบบสมาธิเพ็ชร โปรดแบบสมาธิธรรมดา

ดังนั้น พระปางสมาธิเพชรจึงมีน้อย หาบูชายาก ในที่ทั่ว ๆ ไปไม่สู้จะเห็นกันนัก.


บทสวดมนต์บูชาเมื่อพระเกตุเสวยอายุ..


ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย
โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขเร
อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุกขะโณ สุมุตหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง
ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปทักขิเณ


สวดวันละ ๙ จบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น