ปางอุ้มบาตร
พระพุทธรูปปางนี้
อยู่ในพระอิริยาบถยืน ส้นพระบาททั้งสองชิดกัน พระหัตถ์ทั้งสองยกประคองบาตรราวสะเอว
มีบาตรวางอยู่ที่ฝ่าพระหัตถ์ในท่าประคองด้วย นิยมเรียกว่าปางอุ้มบาตร
นิยมสร้างขึ้นเป็นพระประจำวัน ของคนเกิดวันพุธ
พระพุทธรูปปางนี้ มีตำนานดังนี้
เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จไปยังพระนครกบิลพัสดุ์ ครั้งแรกทรงทำอิทธิปาฏิหาริย์เหาะขึ้นไปบนอากาศ ทรมานให้พระประยูรญาติให้ถวายบังคมแล้วเสด็จลงมาประทับนั่งยังพระบวรพุทธอาสน์ ยังฝนโบกขรพรรษให้ตกลงในท่ามกลางสมาคมพระญาติ แล้วทรงประกาศมหาเวสสันดรชาดกยกขึ้นเป็นเทศนา มีข้อความตามนัยที่พรรณนาไว้ในเรื่องพระพุทธรูปปางทำอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นปางที่ ๒๘ สำหรับพระพุทธรูปปางที่ ๒๙ คือปางอุ้มบาตรนี้มีเรื่องต่อเนื่องมาว่า ครั้นพระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมจบแล้วบรรดาพระญาติทั้งหลายมีพระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดา เป็นประธาน ก็ได้ความเบิกบานปีติปราโมทย์ เปิดพระโอษฐ์ซ้องสาธุการแล้วพระญาติทั้งหลายก็กราบทูลลา
คืนหลังยังพระราชสถาน
มิได้มีพระญาติสักองค์หนึ่งได้กราบทูลถวายพระกระยาหารในยามเช้าพรุ่งนี้
แม้แต่พระเจ้าสุทโธทนะก็เพียงแต่ทูลลา
มิได้ทูลอาราธนาเสวยพระกระยาหารเช้าเช่นกันด้วยทรงนึกไม่ทันว่า ธรรมดาพระจะต้องอาราธนา
จึงจะได้มารับบิณฑบาตในบ้าน ซึ่งเป็นปกติสามัญของประชาชนทั่วไป แต่พระเจ้าสุทโธทนะ
พระพุทธบิดากลับทรงรู้สึกอย่างเป็นพระญาติที่สนิทว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระโอรส พระสงฆ์สาวกเล่าก็เป็นศิษย์ของพระโอรส
แล้วพระโอรสจะเสด็จไปไหน เมื่อไม่มายังพระราชนิเวศน์ของพระองค์
ไม่จำต้องทูลอาราธนา โดยแน่พระทัยว่า
พระบรมศาสดาจะต้องทรงพาพระสาวกทั้งหลายมาเสวยพระกระยาหาร
ในพระราชนิเวศน์เป็นแน่แท้ การเสด็จไปเสวยที่คฤหาสถ์ของใครที่ไหน
แม้จะเป็นพระญาติของพระองค์ก็ไม่เหมาะไม่ควรเท่ากับเสด็จมายังพระราชนิเวศน์
เพราะพระเจ้าสุทโธทนะ ทรงแน่พระทัยดังนี้ จึงไม่เปิดพระโอษฐ์ออกพระวาจาทูลอาราธนา
ยิ่งกว่านั้นยังกลับเห็นว่า หากออกพระกระแสรับสั่งทูลอาราธนาขึ้น
การกลับจะกลายไปว่าพระบรมศาสดาเป็นคนอื่น มิใช่พระโอรส
ครั้นพระเจ้าสุทโธทนะแน่พระทัยเช่นนี้แล้ว เมื่อเสด็จถึงพระราชนิเวศน์ จึงโปรดให้พนักงานวิเศษจัดแจงตกแต่งอาหารอันประณีตไว้พร้อมมูล
เพื่อถวายพระบรมศาสดาและพระภิกษุสงฆ์สาวกทั้งมวลในวันพรุ่งนี้พระพุทธรูปปางนี้ มีตำนานดังนี้
เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จไปยังพระนครกบิลพัสดุ์ ครั้งแรกทรงทำอิทธิปาฏิหาริย์เหาะขึ้นไปบนอากาศ ทรมานให้พระประยูรญาติให้ถวายบังคมแล้วเสด็จลงมาประทับนั่งยังพระบวรพุทธอาสน์ ยังฝนโบกขรพรรษให้ตกลงในท่ามกลางสมาคมพระญาติ แล้วทรงประกาศมหาเวสสันดรชาดกยกขึ้นเป็นเทศนา มีข้อความตามนัยที่พรรณนาไว้ในเรื่องพระพุทธรูปปางทำอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นปางที่ ๒๘ สำหรับพระพุทธรูปปางที่ ๒๙ คือปางอุ้มบาตรนี้มีเรื่องต่อเนื่องมาว่า ครั้นพระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมจบแล้วบรรดาพระญาติทั้งหลายมีพระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดา เป็นประธาน ก็ได้ความเบิกบานปีติปราโมทย์ เปิดพระโอษฐ์ซ้องสาธุการแล้วพระญาติทั้งหลายก็กราบทูลลา
ตลอดเย็นจนถึงเวลารุ่งเช้า เมื่อไม่ปรากฏว่ามีใครอาราธนาพระบรมศาสดาไปเสวย ณ ที่ใด พระบรมศาสดาก็ทรงบาตรพาภิกษุสงฆ์บริษัทเสด็จพระดำเนินไปตามท้องถนนหลวง ปรากฏแก่ปวงประชาราษฎร์ จึงต่างก็ได้โอกาสชมพระบารมี และมีความปีติยินดีประนมหัตถ์นมัสการ นับเป็นครั้งแรกที่ชาวเมืองกบิลพัสดุ์ ได้เห็นพระบรมศาสดาจารย์ทรงอุ้มบาตร เสด็จพระพุทธลีลาศโปรดประชาสัตว์ เพิ่มพูนความปีติโสมนัส สุดจะพรรณนา.
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพุธ (กลางวัน)...
สัพพาสีวิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ ยันนาเสติ วิสังโฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณินัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะเห
สวดวันละ ๑๗ จบ
จะมีความสุขสวัสดียิ่งๆ ขึ้นไป
ผู้ที่เกิดวันพุธ ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรืออนเป็นสีเขียว หรือสีเขียวใบไม้ ส่วนสีรองๆ ลงมา คือ สีเหลือง สีเทา สีดอกรัก สีเมฆหมอก สีขาวนวล พึงเว้น สีม่วง
ผู้ที่เกิดวันพุธ ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรืออนเป็นสีเขียว หรือสีเขียวใบไม้ ส่วนสีรองๆ ลงมา คือ สีเหลือง สีเทา สีดอกรัก สีเมฆหมอก สีขาวนวล พึงเว้น สีม่วง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น