วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก
ก่อนสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฏก พึงคุกเข่าพนมมือตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย
นมัสการพระรัตนตรัย นมัสการพระพุทธเจ้า นมัสการพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ
ขอให้ตั้งจิตมั่นในบทสวดมนต์จะมีเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุการ
อย่าได้ทำเล่นจะเกิดโทษแก่ตัว
คาถายอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก ฉบับนี้ ได้มาจากต้นฉบับเดิมที่จารไว้บนใบลานเป็นอักษรขอมซึ่ง เปิดกรุครั้งแรกที่เมืองสวรรคโลก มีบันทึกเอาไว้ว่าผู้ใดสวดมนต์ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก เป็นประจำทุกเช้าเย็น จะป้องกันภัยอันตรายต่างๆได้รอบด้าน ภาวนาพระคาถาอื่นสัก ๑๐๐ ปีก็ไม่เท่ากับอานิสงส์ของการสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก นี้เพียงครั้งเดียว ผู้ใดที่สวดครบ ๗ วัน หรือครบอายุปัจจุบันของตัวเอง จะมีโชคลาภ ทำมาค้าขายรุ่งเรือง ปราศจากภัยพิบัติทั้งปวง
วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555
วินัยชาวพุทธ ๓
ชาวพุทธชั้นนำ
ชาวพุทธที่เรียกว่า อุบาสก อุบาสิกา นับว่าเป็นชาวพุทธชั้นนำจะต้องมีความเข้มแข็งที่จะตั้งมั่นอยู่ในหลัก ให้เป็นตัวอย่างแก่ชาวพุทธทั่วไป นอกจากรักษา วินัยชาวพุทธ แล้ว ต้องมี อุบาสกธรรม ๕ ดังนี้
๑. มีศรัทธา เชื่อประกอบด้วยปัญญา ไม่งมงาย มั่นในพระรัตนตรัย ไม่หวั่นไหว ไม่แกว่งไกว ถือธรรมเป็นใหญ่และสูงสุด
วินัยชาวพุทธ ๒
หมวดสอง
นำชีวิตให้ถึงจุดหมาย
ก. จุดหมาย ๓ ชั้น ดำเนินชีวิตให้บรรลุจุดหมาย (อัตถะ) ๓ ขั้น คือ
ขั้นที่ ๑ ทิฏฐธัมมิกัตถะ จุดหมายขั้นตาเห็น หรือ ประโยชน์ปัจจุบัน
ก) มีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง ไร้โรค อายุยืน
ข) มีเงินมีงาน มีอาชีพสุจริต พึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ
ค) มีสถานภาพดี เป็นที่ยอมรับนับถือในสังคม
ง) มีครอบครัวผาสุก ทำวงศ์ตระกูลให้เป็นที่นับถือ
ทั้ง ๔ นี้ พึงให้เกิดมีโดยธรรม และใช้ให้เป็นประโยชน์ ทั้งแก่ตนและผู้อื่น
วินัยชาวพุทธ
หมวดหนึ่ง
วางฐานชีวิตให้มั่น
ชาวพุทธจะต้องดำเนินชีวิตที่ดีงาม และร่วมสร้างสรรค์สังคมให้เจริญมั่นคง ตามหลัก วินัยของคฤหัสถ์ (คิหิวินัย) ดังนี้
กฎ ๑ : เว้นชั่ว ๑๔ ประการ
ก. เว้นกรรมกิเลส (บาปกรรมที่ทำให้ชีวิตมัวหมอง) ๔ คือ
๑. ไม่ทำร้ายร่างกายทำลายชีวิต (เว้นปาณาติบาติ)
๒. ไม่ลักทรัพย์ละเมิดกรรมสิทธิ์ (เว้นอทินนาทาน)
๓. ไม่ประพฤติผิดทางเพศ (เว้นกาเมสุมิจฉาจาร)
๔. ไม่พูดเท็จโกหกหลอกลวง (เว้นมุสาวาท)
วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555
เปรตมีกี่ประเภท กรรมที่ทำให้เป็นเปรตเพราะเหตุใด ?
ชนิดของเปรต
ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนามีบันทึกไว้ว่า เปรตแบ่งเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ก็มี บางแห่งแบ่งเป็น 12 ตระกูลบ้าง หรือแยกย่อยออกเป็น 21 ชนิดบ้าง แล้วแต่จุดประสงค์ในการจำแนก ในลำดับต่อไปนักศึกษาจะได้ทราบรายละเอียดของเปรตชนิดต่างๆ
วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
มูติสาชาดก
มองในเวลาที่ไม่ควรมอง
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีปรารภความไม่สำรวมของภิกษุ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า... |
วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555
หน้าที่ของพุทธบริษัท ๒
หน้าที่พุทธบริษัท ๔
๑. พุทธบริษัท ๔ ต้องเป็นผู้รู้ เข้าใจ และสามารถปฏิบัติธรรมได้ถูกต้องตาม
พระพุทธธรรมคำสอน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
๒. พุทธบริษัท ๔ ต้องสามารถ แนะนำ สั่งสอนผู้อื่น ให้ปฏิบัติตามได้อย่าง
ถูกต้อง ตามพระธรรมวินัย ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
๓. เมื่อมีผู้ใดกล่าว ติเตียน จ้วงจาบ แสดงคำสอน ผิดพลาด พุทธบริษัท ๔
ต้องสามารถ ชี้แจง แก้ไข ให้ถูกต้อง ตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา
ดังพระผู้มีพระภาค เจ้าตรัสกับพระยามาราธิราชว่า "ดูก่อนมารผู้มีบาป ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้เป็น สาวก สาวิกา ของตถาคตยังไม่ฉลาด ไม่ได้รับแนะนำ ยังไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตน จักบอก จักแสดง จักบัญญัติ จักแต่งตั้ง จักเปิดเผย จักจำแนก จักทำให้ตื้น จักแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ข่มขี่ ปรับปวาทที่เกิดขึ้น ให้เรียบร้อยโดยสหธรรมไม่ได้ เพียงใด ดูก่อนมารผู้มีบาป ตถาคตจักยังไม่ปรินิพพาน เพียงนั้น" (มหาปรินิพพานสูตร) |
เราท่านทั้งหลายต้องอนุโมทนาสาธุการต่อพระยามาราธิราช
ที่ท่านทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงปรินิพพานนั่นหมายถึง
เป็นเหตุให้เกิดพุทธบริษัท ๔ และมีหน้าที่ของพุทธบริษัท ๔ เกิดขึ้น
เพื่อความมั่นคง สถาวรของพระพุทธศาสนาสืบไป
พระยามาราธิราชทูลอาราธนาปรินิพพาน เพื่อเอื้อประโยชน์
แก่พุทธบริษัท ๔ อันเป็นประเพณีของพระโพธิสัตว์
(พระยามาราธิราช)
พุทธบริษัท ๔ : ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
(สามเณร สามเณรี สิกขมานา ปัณฑรังคบรรพชิต)
คัดมาจากหนังสือ : กฐิน (ถูกต้องตามพระธรรมวินัย) ผู้แต่ง อนุโมทนาพระธรรมวินัย
หมายเหตุ : พุทธบริษัท คือ หมู่ชนที่นับถือพระพุทธศาสนามี ๔ จำพวกคือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
สิกขมานา แปลว่า "สิกขา" หมายถึง "ศึกษา" เป็นคำเรียกผู้ที่ถือศีล ๖ ข้อก่อนที่จะบวชเป็น
ภิกษุณีหรือเรียก ว่าสามเณรีก็เรียก (ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/สิกขมานา)
ปัณฑรังคะ แปลว่า ผู้นุ่งขาวห่มขาว
หน้าที่ของพุทธบริษัท ๑
ธรรม 4 ประการสำหรับพุทธบริษัทที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ดังนี้
มัจฉริยะ บุคคลที่มีความตระหนี่ ไม่ทำบุญให้ทานแก่ผู้ควรให้ วิบากนี้จะทำให้กลายเป็นหรือบันดาลให้เป็นผู้ขัดสน เป็นคนยากจนในทรัพย์สินสมบัติทั้งปวง ในภพชาติต่อ ๆ ไป อีกทั้งยังขวางกั้นทางปฏิบัติอันก้าวสู่มรรคผลอีกด้วย เหตุเพราะการให้ทานเป็นหนึ่งในบารมีที่เราต่างรับทราบกันดีว่า พระชาติสุดท้ายแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือพระเวสสันดร ที่ทรงบำเพ็ญทานบารมีนั่นเอง
ปริจาคะ เป็นธรรมข้อตรงข้ามกับมัจฉริยะ คือบุคคลที่มีการบริจาคทรัพย์สมบัติของตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ได้แก่ความไม่ตระหนี่ถี่เหนียว มีความยินดีในการทำบุญกุศล ทำกรรมดีนั้นย่อมบันดาลให้เป็นคนมั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินสมบัติทั้งชาตินี้และชาติหน้า อันนี้เป็นข้อปริจาคะของคฤหัสถ์
ลิ้นชัก 3 ใบ
คนเราจะมีลิ้นชัก 3 ใบ ในการจัดเก็บข้อมูล
ลิ้นชักแรก “ใช่”
ลิ้นชักที่สอง “ไม่ใช่”
และลิ้นชักที่สาม “ไม่แน่ใจ”
ทุกข้อมูลที่เข้าสู่การรับรู้ของเรา จะถูกบรรจุใน 3 ลิ้นชัก
คนที่มีความ สุขกับชีวิต ต้องมีลิ้นชัก “ไม่แน่ใจ” ใหญ่ที่สุด
ข้อมูลที่เข้ามา ถ้าชัดเจนว่า “ใช่” หรือ “ไม่ใช่”
ให้ใส่ไว้ในลิ้นชัก “ไม่แน่ใจ” ก่อน อย่า ด่วนสรุปเป็นอันขาด…
สะสมแต้มไปเรื่อยๆ จนชัดเจนระดับเป็นอื่นไปไม่ได้แล้ว
ค่อยโยกย้ายข้อมูลไปสู่ลิ้นชัก “ใช่” หรือ “ไม่ใช่”
วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555
มหาสุวราชชาดก
พญานกแขกเต้าผู้สันโดษ
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง ตรัสให้โอวาทว่า "ภิกษุ ธรรมดาสมณเมื่อมาถึงเสนาสนะเป็นที่สบายแล้วก็ไม่ควรโลภในอาหาร ยินดีตามมีตามได้ ปฏิบัติสมณธรรม โบราณบัณฑิตแม้เป็นสัตว์ดิรัจฉาน กินผงแห้งของต้นไม้ที่ตนอยู่อาศัย มีความสันโดษไม่ทำลายมิตธรรมหนีไปที่อื่นเลย" แล้วได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า... |
วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ทิปิชาดก
แพะกับเสือเหลือง
ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ทรงปรารภแม่แพะตัวหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า... กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นฤๅษีบำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าหิมพานต์เป็นเวลานาน ต่อมาได้สร้างบรรณศาลาที่ซอกเขาแห่งหนึ่งใกล้เมืองราชคฤห์ ทุกวันพวกคนเลี้ยงแพะจะพากันต้อนแพะมาเลี้ยงที่ซอกเขาใกล้ที่อยู่ของพระฤๅษีนั้นเป็นประจำ เพราะมีภูเขาล้อมรอบเมื่อปล่อยแพะแล้ว พวกเขาก็จะพากันเล่น ตกเย็นถึงจะไปต้อนแพะกลับบ้านไป |
วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555
อัฏฐสัททชาดก
เสียงสัตว์ ๘ ชนิด
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภเสียงแสดงความแร้นแค้นอันน่าสพึงกลัวที่พระเจ้าโกศลได้สดับในเวลาเที่ยงคืน ได้ตรัสอดีตนิทานมาสธก ว่า... กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นฤๅษีบำเพ็ญพรตอยู่ในป่าหิมพานต์ ต่อมาปีหนึ่งได้เข้าไปพำนักอยู่ในสวนหลวงของพระเจ้าพรหมทัต ผู้ปกครองเมืองพาราณสี โดยที่ระราชาไม่ทรงทราบได้ ในคืนหนึ่ง เวลาเที่ยงคืนขณะที่พระราชากำลังบรรทมอยู่นั้นได้สดับเสียบ ๘ เสียงติดต่อกันไม่ขาดสาย คือ |
วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555
วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
มหากปิชาดก
คุณธรรมของหัวหน้า
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อพระญาติของพระองค์ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสธก ว่า... |
วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ทัพพปุบผาชาดก
แบ่งกันไม่ลงตัว
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภพระอุปนันทศากยบุตรผู้โลภมาก ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า... |
วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
สุตนชาดก
ชายหนุ่มปราบยักษ์
ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภภิกษุผู้เลี้ยงมารดารูปหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า... |
วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
สุวรรณกักกฏกชาดก
ปูทองผู้ฉลาด
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถีทรงปรารภการเสียสละชีพของพระอานนทเถระเพี่อพระองค์ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า... |
วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ขุรปุตตชาดก
พระราชาผู้รู้เสียงสัตว์
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถีทรงปรารภภิกษุผู้ถูกภรรยาเก่าเล้าโลมจนกระสัน อยากจะสึกรูปหนึ่งได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า... |
กุกกุฏชาดก
พญาไก่ป่า
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันจะสึกรูปหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า... |
วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
คำอธิษฐานจิตเวลาทำบุญ
1. คำอธิษฐานจิตเวลาทำบุญ
" สุทินนัง วะตะ เม ทานัง อาสะวักขยาวะหัง โหตุ "
ขอให้ทาน ที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้วนี้ จงเป็นเหตุ ให้ข้าพเจ้า หมดความเศร้าหมองใจเถิด
*********************************************************
2. คำถวาย ธูป เทียน ดอกไม้
" อิมานิ มะยัง ภันเต ธูปะทีปะบุปผะวรานิ ระตะนัตถายัสเสวะ อภิปูชยามะอัมหากังระตะ
นัตตะ ยัสสะ หิตะสุขาวะหา โหตุ อาสะวักขะยัปปัตติยา "
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาด้วย ธูปเทียน และ มีเทียนจำนำพรรษาเป็นต้น และ ดอกไม้
ทั้งหลาย อันประเสริฐนี้ แก่พระรัตนตรัย ก็กิริยาที่บูชาพระรัตนตรัยนี้ จงเป็นผล นำมาซึ่ง
ประโยชน์ และ ความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานและเพื่อให้ถึงซึ่ง พระนิพพาน
อันเป็นที่สิ้นไปแห่ง อาสวกิเลส เทอญ
*********************************************************
อาวาริยชาดก
ค่าจ้างเรือ
ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภคนแจวเรือประจำท่าคนหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า... |
สาลิยชาดก
หมอผู้โชคร้าย
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารถพระเทวทัตผู้ไม่อาจทำความสะดุ้งกลัวแก่พระองค์ได้จึงตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า... |
วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
สุวรรณมิคชาดก
พญาเนื้อทอง
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวีตถี ทรงปรารภธิดาของตระกูลอุปัฏฐากพระอัครสาวกทั้งสอง (พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ) นางหนึ่งผู้สามารถทำให้ครอบครัวสามีเป็นมิจฉาทิฏฐิกลับเป็นสัมมาทิฏฐิ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า... |
ลฏูุกิกชาดก
นางนกไส้
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ ทรงปรารภพระเทวทัตผู้ไม่มีความกรุณาปรานีแก่หมู่สัตว์ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า... กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วพระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาช้างมีช้างประมาณ ๘๐,๐๐๐ เชือก เป็นบริวารอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ในที่ไม่ไกลจากที่อยู่ของช้างนั้นมีนางนกไส้ (นกต้อยตีวิด) ตัวหนึ่งตกฟองไข่อยู่ที่พื้นดินใกล้ทางเดินของพญาช้าง ในรังนั้นมีลูกนกออกใหม่หลายตัว |
วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ราโชวาทชาดก
คุณสมบัติของผู้นำ
ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภโอวาทของพระราชา ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า... |
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
มงคล ๓๘ ประการ
อย่าคบมิตร ที่พาล สันดานชั่ว
จะพาตัว เน่าดิบ จนฉิบหาย
แม้ความคิด ชั่วช้า อย่ากล้ำกราย
เป็นมิตรร้าย ภายใน ทุกข์ใจครัน
มงคลที่ 2.การคบบัณฑิต
ควรคบหา บัณฑิต เป็นมิตรไว้
จะช่วยให้ พ้นทุกข์ สบสุขสันต์
ความคิดดี เลิศล้ำ ยิ่งสำคัญ
ควรคบกัน อย่าเขว ทุกเวลา
ทางแห่งความหลุดพ้น
ในพระไตรปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต วิมุตติสูตรหรือวิมุตตายตนสูตร พระพุทธเจ้าตรัสถึงแหล่งเกิดแห่งความหลุดพ้นไว้ ๕ ประการ คือ
๑. การฟังธรรม ข้อนี้มีตัวอย่างมากหลาย เช่น พระอัญญาโกณฑัญญะ และคณะอีก ๔ รูป เป็นต้น แม้พระสารีบุตรก็เหมือนกัน
๒. การแสดงธรรม มีตัวอย่าง เช่น พระนาคเสนแสดงธรรมแก่อุบาสิกาผู้หนึ่ง ท่านก็ได้สําเร็จ อุบาสิกาก็ได้สําเร็จ ๓. การสาธยายธรรม เช่น ท่องพระพุทธพจน์ หรือสวดบทพระธรรม มีตัวอย่างเช่น อุบาสิกาท่านหนึ่งสาธยายอาการ ๓๒ จนได้บรรลุอนาคามิผล ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท ๔. การใคร่ครวญธรรม หมายถึง การเพ่งพินิจความหมายแห่งธรรม มีตัวอย่างมากหลาย เช่น พระมาลกะ ผู้เคยเป็นพรานเนื้อแล้วมาบวช เป็นต้น ๕. การเจริญสมถะและวิปัสสนา |
กากาติชาดก
นางกากี
ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภภิกษุผู้กะสันจะสึกรูปหนึ่งตรัสให้โอวาทว่า "ภิกษุ ธรรมดามาตุคาม (แม่บ้าน) ใคร ๆ ก็รักษาไว้ไม่ได้ โบราณบัณฑิตในครั้งก่อน ถึงจะยกมาตุคามขึ้นไปไว้ในวิมานฉิมพลีในท่ามกลางมหาสมุทรก็ไม่อาจรักษาสตรีได้" แล้วได้นำอดีตนิทานมาสาธก ว่า... กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพระราชาผู้ครองเมืองพาราณสี มีมเหสีพระนามว่า กากาติ มีพระรูปโฉมงดงามยิ่ง ใครเห็นใครก็ลุ่มหลงในความงาม ในวันหนึ่งมีพญาครุฑตนหนึ่งแปลงร่างเป็นมนุษย์มาเล่นสกา (การพนันชนิดหนึ่ง)กับพระราชา ได้พบเห็นพระนางกากาตินั้นแล้วเกิดความรักใคร่ในนาง จึงแอบพานางหนีไปอยู่ที่วิมานฉิมพลีอันเป็นที่อยู่ พระราชาเมื่อไม่พบเห็นพระเทวีจึงตรัสเรียกคนธรรพ์ชื่อ นฏกุเวรมาเข้าเฝ้า พร้อมมอบหมายให้นำพระเทวีกลับมาให้ได้ ฝ่ายคนธรรพ์ทราบที่อยู่ของครุฑแล้ว จึงไปนอนแอบซุ่มอยู่ในดงตะไคร้ข้างสระลูกหนึ่ง พอครุฑบินไปจากสระก็แอบกระโดดเกาะระหว่างปีกครุฑไปจนถึงวิมานฉิมพลี แอบได้เสียกับพระนางกากาติที่วิมานนั้น แล้วก็อาศัยครุฑนั้นแหละกลับมาเมืองพาราณสีอีก ในวันหนึ่งขณะที่พญาครุฑเล่นสกากับพระราชาอยู่ คนธรรพ์ก็ทำทีเป็นถือพิณมาที่สนามสกา ขับร้องเป็นเพลงว่า "หญิงรักคนรักของเราอยู่ ณ ที่แห่งใด กลิ่นของนางยังหอมฟุ้งมาที่แห่งนั้น ใจของเรายินดีในนางใด นางนั้นชื่อกากาติ อยู่ไกลจากที่นี้" พญาครุฑพอได้ฟังแล้วสะดุ้งจึงถามเป็นนัยว่า "ท่านข้ามทะเลมหาสมุทรทั้ง ๗ แห่งไปได้อย่างไร ท่านขึ้นวิมานฉิมพลีได้อย่างไร" นฏกุเวรจึงตอบว่า "เราข้ามทะเลมหาสมุทรทั้ง ๗ แห่งได้ก็เพราะท่าน ขึ้นวิมานฉิมพลีได้ก็เพราะท่านนั้นแหละ" พญาครุฑพอได้ทราบความจริงแล้ว ก็กล่าวติเตียนตนด้วยความเสียใจว่า "ช่างน่าติเตียนเสียนี่กระไร เรามีร่างกายใหญ่โตเสียเปล่าไม่มีความคิด จึงเป็นพาหนะให้ชายชู้ของเมียทั้งไปและกลับ น่าเจ็บใจจริง ๆ" กล่าวจบก็คืนร่างเป็นพญาครุฑไปนำพระนางกากาติมาคืนพระราชาแล้วไม่หวนคืนกลับมาเล่นสกากับมนุษย์อีกเลย |
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : | ไม่มีใครจะเก็บรักษาสตรีไว้ได้นอกจากสตรีนั้นจะรักษาตนเอง |
วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
พรหมทัตตชาดก
การขอ
ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่อัคคาฬวเจดีย์ เมืองอาฬวี ทรงปรารภกุฏิการสิกขาบทที่พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีพากันสร้างกุฏีเที่ยวขอชาวบ้าน จนชาวบ้านเกิดความเดือดร้อนขึ้นจึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลายโบราณบัณฑิต แม้พระราชาจะปวารณาไว้แล้วก็ไม่มีขอในท่ามกลางมหาชน เพราะกลัวหิริโอตตับปปะร้าวฉานออกปากขอในที่ลับเท่านั้น " แล้วได้นำอดีตนิทานมาสาธก ว่า... |
วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ทุททุภายชาดก
กระต่ายตื่นตูม
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดพระเชตวันเมืองสาวัตถี ทรงปรารภเดียรถีย์ (นักบวชนอกศาสนา) ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า... |
ติติรชาดก
บาปเกิดจากความจงใจ
ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในวทริการามเมืองโกสัมพี ทรงปรารภพระราหุลเถระ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า... กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ตระกูลหนึ่ง หลังจากเรียนจบศิลปวิทยาจากเมืองตักกสิลาแล้ว ได้ออกบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าหิมพานต์วันหนึ่งพระฤาษีได้สัญจรไปที่บ้านชายแดนหมู่บ้านหนึ่ง คนในหมูบ้านนั้นได้สร้างอาศรมถวาย จึงได้อาศัยอยู่ที่นั้นเรื่อยมา |
วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
สสปัณฑิตชาดก
กระต่ายผู้สละชีวิต
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภการถวายบริขารทุกอย่างของพ่อค้าชาวเมืองคนหนึ่งได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นกระต่ายอาศัยอยู่ในป่าแห่งหนึ่งท่ามกลางหุบเขาและแม่น้ำล้อมรอบ มีสัตว์เป็นเพื่อนกันอัก ๓ ตัว คือ ลิง สุนัขจิ้งจอก และนาก สัตว์ทั้ง ๔ เป็นสัตว์มีศีลธรรม ทุกเย็นจะมาพบกันและฟังโอวาทของกระต่ายเสมอ
ลักษณะนิสัยคนโทสะจริต
การวิเคราะห์จริตมนุษย์ 6 ประเภท
เราคงจะได้ยินกันบ่อยว่า สามีหรือภรรยา ต่างไม่เข้าใจกันแม้จะอยู่ด้วยกันมานับสิบๆปี หรือ พ่อแม่ มาบ่นให้ผู้เขียนฟังว่าไม่ค่อยเข้าใจ ลูก เลย ทำไมถึงมีพฤติกรรมแปลกๆ ส่วนในที่ทำงาน หลายคนกำลังกลุ้มกับ หัวหน้า ที่ดูเหมือนจะศรศิลป์ไม่กินกัน จนแทบอยากจะลาออกจากงาน ส่วนหัวหน้าก็กลุ้มใจกับ ลูกน้อง ที่ ดูเหมือนจะสั่งงานไม่ไป พูดอย่างไปอีกอย่าง หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้เราเข้าใจบุคคลที่อยู่รอบตัวท่านได้ดีขึ้น ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากการที่ คนเรามักมองตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และ มองออกไปหาคนอื่น เราแทบไม่ได้คิดจากคนอื่นกลับมาหาเรา หรือถ้าคิดก็มักคิดว่า ทุกคนต้องคิดเหมือนเราทำเหมือนเรา ถ้าไม่ทำอย่างที่เราคิดหรือคาดหวังว่าจะทำแล้วก็จะรู้สึกไม่สบอารมณ์
ที่จริงแล้ว มนุษย์เราแต่ละคนมีระบบความคิด ระบบการมองโลกที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แม้ว่าจะเป็นพี่น้องกัน หรือว่าอยู่ในครอบครัวเดียวกัน การที่เราสามารถเข้าใจระบบการมองโลกและระบบความคิดของเขา เราสามารถอ่านใจสามีหรือภรรยา ลูก หัวหน้าหรือลูกน้องได้ เราสามารถคาดว่าถ้าเราพูดอย่างนี้ เขาจะโต้ตอบมาว่าอย่างไร จะไม่มีการแปลกประหลาดใจ โดยเฉพาะผู้เป็นคุณพ่อคุณแม่จะได้เข้าใจถึงลูกของตัวเองดีขึ้น หัวหน้าจะได้มอบหมายลูกน้องให้ทำงานตรงกับลักษณะนิสัย จะได้ไม่ประหลาดใจกับผลที่ได้เมื่อสั่งงานไปแล้ว ส่วนหากเราเป็นลูกน้องก็จะสามารถเข้าใจนายว่าทำไมเขาถึงพูดถึงทำเช่นนั้น และเราจะมีทางหนีทีไล่ได้อย่างไรเมื่อไปเจอกับหัวหน้ารูปแบบต่างๆ
เราคงจะได้ยินกันบ่อยว่า สามีหรือภรรยา ต่างไม่เข้าใจกันแม้จะอยู่ด้วยกันมานับสิบๆปี หรือ พ่อแม่ มาบ่นให้ผู้เขียนฟังว่าไม่ค่อยเข้าใจ ลูก เลย ทำไมถึงมีพฤติกรรมแปลกๆ ส่วนในที่ทำงาน หลายคนกำลังกลุ้มกับ หัวหน้า ที่ดูเหมือนจะศรศิลป์ไม่กินกัน จนแทบอยากจะลาออกจากงาน ส่วนหัวหน้าก็กลุ้มใจกับ ลูกน้อง ที่ ดูเหมือนจะสั่งงานไม่ไป พูดอย่างไปอีกอย่าง หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้เราเข้าใจบุคคลที่อยู่รอบตัวท่านได้ดีขึ้น ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากการที่ คนเรามักมองตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และ มองออกไปหาคนอื่น เราแทบไม่ได้คิดจากคนอื่นกลับมาหาเรา หรือถ้าคิดก็มักคิดว่า ทุกคนต้องคิดเหมือนเราทำเหมือนเรา ถ้าไม่ทำอย่างที่เราคิดหรือคาดหวังว่าจะทำแล้วก็จะรู้สึกไม่สบอารมณ์
ที่จริงแล้ว มนุษย์เราแต่ละคนมีระบบความคิด ระบบการมองโลกที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แม้ว่าจะเป็นพี่น้องกัน หรือว่าอยู่ในครอบครัวเดียวกัน การที่เราสามารถเข้าใจระบบการมองโลกและระบบความคิดของเขา เราสามารถอ่านใจสามีหรือภรรยา ลูก หัวหน้าหรือลูกน้องได้ เราสามารถคาดว่าถ้าเราพูดอย่างนี้ เขาจะโต้ตอบมาว่าอย่างไร จะไม่มีการแปลกประหลาดใจ โดยเฉพาะผู้เป็นคุณพ่อคุณแม่จะได้เข้าใจถึงลูกของตัวเองดีขึ้น หัวหน้าจะได้มอบหมายลูกน้องให้ทำงานตรงกับลักษณะนิสัย จะได้ไม่ประหลาดใจกับผลที่ได้เมื่อสั่งงานไปแล้ว ส่วนหากเราเป็นลูกน้องก็จะสามารถเข้าใจนายว่าทำไมเขาถึงพูดถึงทำเช่นนั้น และเราจะมีทางหนีทีไล่ได้อย่างไรเมื่อไปเจอกับหัวหน้ารูปแบบต่างๆ
สัปปายะ
สัปปายะ (พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ของท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก)
สิ่ง สถานหรือบุคคล ซึ่งเป็นที่สบาย เหมาะกัน เกื้อกูล หรือเอื้ออำนวย โดยเฉพาะที่ช่วยเกื้อกูลแก่การบำเพ็ญและประดับประคองรักษาสมาธิ
ท่านแสดงไว้ ๗ อย่าง คือ อาวาส (ที่อยู่) โคจร (ที่บิณฑบาตหรือแหล่งอาหาร) ภัสสะ (เรื่องพูดคุยที่เสริมการปฏิบัติ) บุคคล (ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้วช่วยให้จิตผ่องใสสงบมั่นคง) โภชนะ (อาหาร) อุตุ (สภาพแวดล้อมและอุณหภูมิ)
อิริยาบถ; ทั้ง ๗ นี้ ที่เหมาะกันเป็นสัปปายะ ที่ไม่สบายเป็นอสัปปายะ)
วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
อานิสงส์การสวดมหาปัฏฐาน
คำว่า "มหาปัฏฐาน" แปลว่า ปัจจัยมีประการต่างๆมากมาย ในการแสดงปัจจัย ๒๔ นั้น พระพุทธองค์ทรงจำแนกปัจจัยหนึ่งๆ มีธรรมเป็น ๓ หมวด คือ ปัจจัยธรรม หมายความว่า ธรรมที่เป็นเหตุ(ปัจจัย มีวจนัตถะว่า ผลธรรมย่อมเกิดขึ้นตั้งอยู่ได้เพราะอาศัยธรรมที่เป็นเหตุนี้ ธรรมที่เป็นเหตุนี้จึงชื่อว่า"ปัจจัย")
ปัจจยุปบันธรรม หมายความว่า ธรรมที่เป็นผล(ปัจจยุปบันธรรม มีวจนัตถะว่า ผลธรรมที่เกิดจากเหตุปัจจัย ชื่อว่า "ปัจจยุปบัน")
ปัจจนิกธรรม หมายความว่า ธรรมที่มิใช่ผล (คือธรรมที่นอกจากผล)(ปัจจนิก มีวจนัตถะว่า หมวดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อปัจจยุปบันธรรม ชื่อว่า"ปัจจนิก")
มหาปัฏฐาน มีนัยยะกว้างขวาง มีนัยหาที่สุดมิได้มีอรรถอันสุขุมลุ่มลึกยิ่งกว่าพระสัทธรรมทั้งปวง อันมีในพระไตรปิฏกนับเป็นปกรณ์ใหญ่ เรียกว่า "มหาปกรณ์"เป็นปกรณ์ที่เมื่อครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้แล้วนั้น คัมภีร์มหาปัฏฐาน เป็น ๑ ใน ๗ คัมภีร์ที่พระพุทธองค์ทรงพิจารณาหลังจากที่ได้ตรัสรู้แล้ว ได้แก่ ๑. ธัมมสังคณี, ๒. วิภังคปกรณ์ ๓. ธาตุกถา ๔. ปุคคลบัญญัติ ๕. กถาวัตถุ ๖. ยมกปกรณ์ และ ๗. มหาปัฏฐานเมื่อพระพุทธองค์พิจารณาคัมภีร์เหล่านั้นจนกระทั้งหยั่งลงสู่การพิจารณาคัมภีร์ที่ ๗ นี้ พระฉัพพรรณรังสี ๖ ประการก็ซ่านออกมาจากพระวรกายของพระองค์ ทั้งนี้ ก็เพราะเป็นคัมภีร์ที่กว้างขวาง มีอรรถรสลึกซึ้ง สุขุมคัมภีรภาพ มากกว่า๖ คัมภีร์ ที่พระองค์ทรงพิจารณามาและเป็นคัมภีร์เดียวเท่านั้นที่เหมาะสมแก่พระสัพพัญญุตญาณจึงทำให้เกิดความปิติในธรรมอยู่ตลอดเวลาพระรัศมีนี้มิใช่สำเร็จด้วยการอธิษฐานและมิใช่สำเร็จด้วยการภาวนาแต่ประการใดหากแต่สำเร็จมาจากการพิจารณาธรรมอันละเอียด สุขุม ลึกซึ้ง กว้างขวางนั่นเอง โดยเหตุนี้แหละ พระโลหิตจึงใส รูปวัตถุผ่องใสพระฉวีวรรณผ่องใส วรรณธาตุ (ธาตุ คือ รัศมี) มีจิตเป็นสมุฏฐานได้ตั้งอยู่ไม่หวั่นไหวในประเทศ ประมาณ ๘๐ ศอก โดยรอบ
ปัจจยุปบันธรรม หมายความว่า ธรรมที่เป็นผล(ปัจจยุปบันธรรม มีวจนัตถะว่า ผลธรรมที่เกิดจากเหตุปัจจัย ชื่อว่า "ปัจจยุปบัน")
ปัจจนิกธรรม หมายความว่า ธรรมที่มิใช่ผล (คือธรรมที่นอกจากผล)(ปัจจนิก มีวจนัตถะว่า หมวดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อปัจจยุปบันธรรม ชื่อว่า"ปัจจนิก")
มหาปัฏฐาน มีนัยยะกว้างขวาง มีนัยหาที่สุดมิได้มีอรรถอันสุขุมลุ่มลึกยิ่งกว่าพระสัทธรรมทั้งปวง อันมีในพระไตรปิฏกนับเป็นปกรณ์ใหญ่ เรียกว่า "มหาปกรณ์"เป็นปกรณ์ที่เมื่อครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้แล้วนั้น คัมภีร์มหาปัฏฐาน เป็น ๑ ใน ๗ คัมภีร์ที่พระพุทธองค์ทรงพิจารณาหลังจากที่ได้ตรัสรู้แล้ว ได้แก่ ๑. ธัมมสังคณี, ๒. วิภังคปกรณ์ ๓. ธาตุกถา ๔. ปุคคลบัญญัติ ๕. กถาวัตถุ ๖. ยมกปกรณ์ และ ๗. มหาปัฏฐานเมื่อพระพุทธองค์พิจารณาคัมภีร์เหล่านั้นจนกระทั้งหยั่งลงสู่การพิจารณาคัมภีร์ที่ ๗ นี้ พระฉัพพรรณรังสี ๖ ประการก็ซ่านออกมาจากพระวรกายของพระองค์ ทั้งนี้ ก็เพราะเป็นคัมภีร์ที่กว้างขวาง มีอรรถรสลึกซึ้ง สุขุมคัมภีรภาพ มากกว่า๖ คัมภีร์ ที่พระองค์ทรงพิจารณามาและเป็นคัมภีร์เดียวเท่านั้นที่เหมาะสมแก่พระสัพพัญญุตญาณจึงทำให้เกิดความปิติในธรรมอยู่ตลอดเวลาพระรัศมีนี้มิใช่สำเร็จด้วยการอธิษฐานและมิใช่สำเร็จด้วยการภาวนาแต่ประการใดหากแต่สำเร็จมาจากการพิจารณาธรรมอันละเอียด สุขุม ลึกซึ้ง กว้างขวางนั่นเอง โดยเหตุนี้แหละ พระโลหิตจึงใส รูปวัตถุผ่องใสพระฉวีวรรณผ่องใส วรรณธาตุ (ธาตุ คือ รัศมี) มีจิตเป็นสมุฏฐานได้ตั้งอยู่ไม่หวั่นไหวในประเทศ ประมาณ ๘๐ ศอก โดยรอบ
ปฏิจจสมุปบาท แบบ "ฮัมเพลง" 3
พระอานนท์ _____________
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็จะควรเรียกว่า
ภิกษุผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาทด้วยเหตุอันใด ฯ
พระพุทธเจ้า _____________
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า
ทรงแสดงธรรมอิทัปปัจจยตา
เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น ผลนี้จึงเกิดขึ้น
เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ คือ
วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ปฏิจจสมุปบาท แบบ "ฮัมเพลง" 2
ภิกษุทั้งหลาย !
นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
จนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ตลอดเวลาระหว่างนั้น
ตถาคตได้...
กล่าวสอน
พร่ำสอน
แสดงออก
ตถาคตได้...
กล่าวสอน
พร่ำสอน
แสดงออก
ซึ่งถ้อยคำใด
ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น
ไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย
ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น
ไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย
อิติวุ. ขุ. ๒๕ / ๓๒๑ / ๒๙๓
ด้วยเหตุผลดังกล่าว บทสวดมนต์ที่ดีที่สุด จึงถูกตีกรอบเฉพาะ พระธรรมที่พระศาสดาตรัสไว้ดีแล้วเท่านั้น ซึ่งทั้งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกาที่เป็นสาวก ควรน้อมเข้ามาใส่ตน และควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
แต่ในปัจจุบัน หาหนังสือสวดมนต์เช่นว่านั้นได้ยากนัก บทสวดที่ปรากฏอยู่ในหนังสือที่ผมได้รับ ไม่ต่ำกว่า 10 เล่มนั้น 95-99 % ไม่ใช่สิ่งที่พระศาสดาตรัสไว้ หากแต่เกลื่อนไปด้วย
บทสวด บทกรวดน้ำ บทแผ่เมตตา คำไหว้ คำบูชา คำอธิษฐาน คำอาราธนา และคาถาต่าง ๆซึ่งทั้งหมดที่ถูกยัดเยียดมาให้ เป็นแค่คำกล่าวของสาวก ที่พระศาสดาตรัสพยากรณ์แก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ภิกษุทั้งหลาย !
ฉันใดก็ฉันนั้น
ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย...
ฉันใดก็ฉันนั้น
ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย...
ปฏิจจสมุปบาท แบบ "ฮัมเพลง" 1
อ้างอิง เวป http://www.visalo.org/article/budSevana.htm
ตัดตอนมาเป็นบางส่วน
ภาคต่อมาก็คือว่าทรงเป็นอะไรกับพระองค์เอง
ในบทนี้อาจารย์พุทธทาสพูดถึงพระพุทธเจ้าว่าทรง "ฮัมเพลง"
อาจารย์พุทธทาสใช้คำที่สะดุดใจดี
คือมีคราวหนึ่งพระองค์อยู่คนเดียวในที่สงัดก็ทรงทบทวนเรื่องปฏิจจสมุปบาท
โดยทรงเปล่งเสียงเบา ๆ อาจารย์พุทธทาสก็เลยใช้คำว่าทรง "ฮัมเพลง"
แต่เป็นเพลงที่มีความหมายลึกซึ้งทางธรรมะ
ท่านบอกว่านี่เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระองค์ในบางแง่
ตัดตอนมาเป็นบางส่วน
ภาคต่อมาก็คือว่าทรงเป็นอะไรกับพระองค์เอง
ในบทนี้อาจารย์พุทธทาสพูดถึงพระพุทธเจ้าว่าทรง "ฮัมเพลง"
อาจารย์พุทธทาสใช้คำที่สะดุดใจดี
คือมีคราวหนึ่งพระองค์อยู่คนเดียวในที่สงัดก็ทรงทบทวนเรื่องปฏิจจสมุปบาท
โดยทรงเปล่งเสียงเบา ๆ อาจารย์พุทธทาสก็เลยใช้คำว่าทรง "ฮัมเพลง"
แต่เป็นเพลงที่มีความหมายลึกซึ้งทางธรรมะ
ท่านบอกว่านี่เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระองค์ในบางแง่
วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555
กุมารปัญหา
อนึ่ง ในระยะเวลาที่พระราหุลมีพระชนม์พรรษาน้อยอยู่นี้
พระอรรถกถาจารย์ท่านแสดงว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงอบรมด้วย กุมารปัญหา คือ
ปัญหาที่ผูกขึ้นสำหรับถามเด็ก หรือ สามเณรปัญหา
ปัญหาที่ผูกขึ้นสำหรับสามเณร ปัญหานี้ในที่แห่งหนึ่งแสดงว่า
พระพุทธเจ้าตรัสถามให้สามเณรรูปหนึ่งชื่อว่า โสปากสามเณร ตอบ
แต่ท่านพระอรรถกถาจารย์ได้กล่าวว่า
พระพุทธเจ้าได้ตรัสตั้งปัญหาอันเดียวกันนี้ถามพระราหุลด้วย มี ๑๐ ข้อ
คือ
ทีฆีติโกสลชาดก
ทีฆีติโกสลชาดก
ว่าด้วยเวรย่อมไม่ระงับด้วยเวร
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีผู้กระทำการทะเลาะทุ่มเถียงกัน
จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.
ได้ยินว่า ในกาลที่ภิกษุเหล่านั้นมายังพระเชตวันวิหาร
ขอให้พระศาสดาทรงยกโทษ พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นมาแล้วตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเป็นโอรสของเรา ชื่อว่าบุตร
ผู้เกิดจากปาก อันบุตรทั้งหลายไม่ควรทำลายโอวาทที่บิดาให้ไว้
ก็เธอทั้งหลายไม่กระทำตามโอวาท บัณฑิตทั้งหลายแต่ก่อน
แม้โจรผู้ฆ่ามารดาบิดาของตนแล้วยึดครองราชสมบัติ ตกอยู่ในเงื้อมมือในป่า
ก็ ยังไม่ฆ่าด้วยคิดว่า จักไม่ทำลายโอวาทที่มารดาบิดาให้ไว้ ดังนี้ แล้ว
ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้:
วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555
ประวัติวัดยางค้อม
ประวัติวัดวัดยางค้อม ดังนี้
อำเภอพิปูน ตามหลักฐาน เป็นอำเภอตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2363 ปลายรัชกาลที่ 2 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยานคร (น้อยกลาง) ปรับปรุงหัวเมืองปักใต้เสียใหม่ โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จัดการปกครองออกเป็น 4 หัวเมือง ใน เขตรับผิดชอบของกรมช้างกลาง คือ หัวเมืองฉวาง หัวเมืองกะเปียด หัวเมือง ละอาย หัวเมืองพิปูน ในแต่ละเมือง มีตำบลในเขตรับผิดชอบ มีผู้ปกครอง มีวัด ประจำเมือง และระบุว่า วัดยางค้อม เป็นวัดประจำเมืองพิปูน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)