วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา
วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
สมาธิบำบัด
บำบัดความเครียด.......... สมาธิบำบัด
เครียด เครียด เครียด .........เครียด เครียด เครียด ชีวิตประจำวันของคนทำงานทำให้ดัชนีความเครียดของคนไทยพุ่งสูงปรี๊ด ความเครียดทำให้สุขภาพเราแย่ลง ทำให้เราป่วยง่ายขึ้น ที่สำคัญสำหรับสาวๆ เครียดมากๆทำให้หน้าแก่ก่อนวัยได้นะ เมื่อเรารู้สึกเครียดร่างกายเราจะหลั่งฮอร์โมน Adrenaline จากต่อมหมวกไต ถ้าเครียดมากก็หลั่ง Adrenaline มากขึ้นฮอร์โมนความเครียดก็จะไปยับยั้งการทำงานของอวัยวะสำคัญทั้งหมด เช่นหัวใจ ไต ตับ ปอด ทำให้อวัยวะสำคัญของเราเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว สุดท้ายก็พร้อมใจกันหยุดทำงานเพราะฮอร์โมนความเครียดไปทำให้ภูมิต้านของร่างกายเราต่ำลง ต่ำลง เรียกว่าโรคเครียดนอกจากทำแก่ง่ายแล้วยังทำให้ถึงตายได้นะเนี่ย
วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
มิลินทปัญหา(ตอนจบ)
(๑๗) ปัญญาลักขณปัญหา คำรบ ๑๔.
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์บรมกษัตริย์มีพระราชโองการตรัสถามว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ปัญญานี้เล่ามีลักษณะอย่างไร
พระนาคเสนจึงถวายพระพรตอบไปว่า ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ปัญญานี้มีลักษณะตัดรอน อาตมาได้ถวายพระพรแล้ว บัดนี้ทรงถามอีกก็จะต้องวิสัชนาอีก ปัญญานี้มีลักษณะโอภาส
พระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์มีพระราชโองการตรัสว่า ปัญญามีลักษณะโอภาสอย่างไร
พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ปัญญาโอภาสนั้นเมื่อจะบังเกิดย่อมกำจัดอนธการอันมืดมัวคือตัวอวิชชาชาติ จึงให้วิชชาโอภาสบังเกิดส่องสว่างคือรู้ไปในธรรมแล้วมีปัญญาเล่า ก็คือปัญญาผ่องแผ้วสว่างกระจ่างแจ้ง พิจารณาเห็นองค์แห่งพระอริยสัจสันทัดแน่นอน ลำดับนั้นพระโยคาวจรพิจารณาซึ่งสังขารก็เห็นเป็น บ้างเห็นเป็นบ้าง เห็นเป็น บ้าง ด้วยโอภาสลักขณะ ปัญญาเห็นสว่างกระจ่างมาแต่พระอริยสัจนั้นอย่างนี้ชื่อว่าโอภาสลักขณปัญญา ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีสุนทรราชโองการตรัสว่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้ากระทำอุปมาไปก่อน
พระนาคเสนก็ถวายพระพรอุปมว่า ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐยิ่งมิ่งมไหศวรรย์ เปรียบปานดุจบุรุาผู้หนึ่งนั้นจุดประทีปคันและเทียนส่องเข้าไปในห้องเรือนอันมืดมนอนธการ ก็ชัชวาลสว่างกระจ่างแจ้งแลเห็นรูปต่าง ๆ เป็นต้นว่าถ้วยโถโอจานพาน ภาชนะอันตั้งเรียงเคียงกัน มีอรุวนาฉันใด โอภาสลักขณปัญญานี้ไซร้ เมื่อจะบังเกิดในสันดานท่านผู้เป็นโยคาวจรนั้น ก็กำจัดเสียซึ่งมืดคืออวิชชาอันบังปัญญามิให้รู้ธรรมยังวิชโชภาสอันสุกใสไพโรจน์คือ วิชชาอันจะรู้ไปในธรรมนั้นให้สว่างกระจ่างแจ้ง ยังญาณาโลกให้สว่างไสว ก็เห็นแจ้งในพระอริยสัจทั้ง ๔ ทีนั้นพระโยคาวจรเจ้าก็เห็นเป็นพระไตรลักษณญาณว่า เป็นอนิจจังบ้าง เป็นทุกขังบ้าง เป็นอนัตตาบ้างอย่างนี้แหละชื่อว่าโอภาสลักขณปัญญา ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี ทรงฟังอุปมาฉะนี้ก็มีน้ำพระทัยหรรษา จึงตรัสสาธุการว่าพระผู้เป็นเจ้าวิสัชนานี้สมควรอยู่แล้ว
ปัญญาลักขณปัญหา คำรบ ๑๔ จบเท่านี้
มิลินทปัญหา(๑๒)
(๑๔) วิริยลักขณปัญหา คำรบ ๑๑.
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสปุจฉาด้วยลักษณแห่ง วิริยะว่า ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า อันว่าวิริยะนั้นเล่ามีลักษณะเป็นประการใด
พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า ดูกรบพิตรพระราชสมภาร อันว่าวิริยะนี้มีลักษณะว่าอุปถัมภนาการค้ำชูไว้ มิให้กองกุศลธรรมทั้งหลายสิ้นเสื่อมสูญไป ของถวายพระพร
พระเจ้ากรุงมิลินท์จึงตรัสว่า นิมนต์อุปมาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรอุปมาว่า ดูกรบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปานเหมือนเรือนอันเก่าชำรุดทรุดเซ อันจะล้มไป เขาจึงเอาไม้เข้าค้ำจุนไว้ มิให้เรือนเก่าตีเสนขาดนั้นล้มลง ช่วยปะทะปะทังค้ำจุนไว้ มีครุวนาฉันใด วิริยะก็อุปถัมภ์ค้ำชูไว้ซึ่งกุศลธรรมในสันดานอันมีจิตเป็นกุศลมิให้เสื่อมไปได้ ดุจตะม่อไม้จุนเรือน ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินทร์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าอุปมาให้ยิ่งไปกว่านี้ก่อน
มิลินทปัญหา(๑๑)
(๑๒) สีลปติฏฐานลักขณปัญหา คำรบ๙.
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐในทวีปชมพูพื้น กุศลอันอื่นคือศีลบารมีและสติปัฏฐาน สมาธิและปัญญาบารมีเป็นต้นนี้ของถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีถามว่า ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า อันว่าศีลนี้ มีลักษณะอย่างไร นิมนต์วิสัชนาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรว่า ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร อันว่าศีลนี้มีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมทั้งปวง นี้แหละศีลนี้ประเสริฐใหญ่หลวงเป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมทั้งปวง คืออินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ ฌาน ๔ วิโมกขธรรม ๘ สมาธิ ๑ สมาบัติ ๘ ประการ ดูรานะบพิตรพระราชสมภารบุคคลจะไม่ถอยไม่เสื่อมจากกองการกุศลธรรมทั้งปวงนี้ ก็อาศัยศีลเป็นที่ตั้ง ขอถวายพระพร
มิลินทปัญหา(๑๐)
(๙) ปฏิสนธิคหณปัญหา คำรบ๖.
ครั้งนั้นพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีจึงมีพระราชปุจฉาถามอรรถปัญหาอันอื่น ต่อไปว่าข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า คนที่ตายไปแล้ว จะไม่ปฏิสนธิเกิดมาเป็นร่างกายจิตใจสูญไปนี้ จะมีบ้างหรือ หรือว่าไม่มี
พระนาคเสนได้ฟังพระโองการฉะนี้จึงถวายพระพรว่า ดูรานะมหาบพิตร คนบางจำพวกดับจิตแล้วไม่เกิดอีกก็มี ที่กลับมาเกิดอีกก็มี
พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีจึงซักถามต่อไปนี้ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าว่าบุคคลที่ดับจิตไม่ได้เกิดอีกนั้น ได้แก่คนจำพวกใด คนที่ดับจิตตายไปแล้วกลับเกิดใหม่นั้นได้แก่คนจำพวกใด นิมนต์วิสัชนาไปให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรว่า ดูรานะบพิตร คนที่มีราคาทิกิเลสดับจิตแล้วเกิดใหม่ ที่หากิเลสมิได้ดับจิตแล้วไม่เกิดอีก ขอถวายพระพร
พระเจ้ากรุงมิลินท์จึงย้อนถามว่า ก็พระผู้เป็นเจ้านี้เล่าดับจิตแล้วจะเกิดใหม่ หรือว่าไม่เกิดอีกในภพเป็นประการใด
พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ ถ้าว่าอาตมาประกอบไปด้วยกิเลส ดับจิตไปก็ต้องเกิดใหม่ ถ้าว่าอาตมาหากิเลสมิได้ก็จะดับสูญไปไม่เกิดอีก ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นสาคลนคร ก็มีพระโองการสรรเสริญว่า พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนานี้สมควรแล้ว
ปฏิสนธิคหณปัญหา คำรบ ๖ จบเท่านี้
มิลินทปัญหา(๙)
(๘) ปัพพชาปัญหา คำรบ๕.
อันดับนั้นแท้จริง เมื่อพระนาคเสนผู้มีอายุ มิ่งมงกุฎวิสุทธิสงฆ์องค์อรหันต์ เทศนาโปรดอันตกายอำมาตย์แล้ว ก็ดำเนินลีลาศเข้าสู่พระนิเวศน์วังใน เสด็จขึ้นไปบนปราสาท นิสัชนาการนั่งเหนือปัญญัตตาอาสน์กับพระภิกษุแปดหมื่นสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นพิภพขึ้นชมพูทวีป ก็ทรงรับรัดเร่งให้ปรนนิบัติด้วยโภชนียะของเคี้ยวของกัดดูดดื่มอันประณีตบรรจง ยังพระนาคเสนกับพระภิกษุสงฆ์ให้อิ่มหนำสำราญแล้วสมเด็จบรมบพิตรก็ถวายไตรจีวรให้ทั้งแปดหมื่นแล้ว
ก็มีพระทัยชื่นชมต่อบรมทาน จึงมีพระราชโองการให้พระนาคเสนเอาภิกษุหนุ่มไว้แต่ ๑๐ องค์ นิมนต์พระภิกษุมากกว่านั้นอันเฒ่าแก่กลัวนั่งเจ็บหลังนิมนต์กลับไปยังอสงไขยบริเวณ ส่วนสมเด็จกรุงมิลินท์ก็จับเอาอาสนะนั่งใกล้พระนาคเสนองค์เอกอรหันต์ จึงมีสุนทรพจนารถราชโองการประภาษว่า ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า
เราทั้ง ๒ นี้จะสนมานาพาทีด้วยเหตุอันใดดี ในกาลบัดนี้
ฝ่ายพระนาคเสนเถรเจ้า จึงมีเถรวาจาถวายพระพรว่า ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ อามตากับมหาบพิตรนี้คิดว่าจะสนทานกันที่เป็นประโยชน์ ขอถวายพระพรขณะนั้นกรุงมิลินท์ปิ่นประชากรมีสุนทรพจนารถราชโองการ ตรัสถามปัญหาเหมือนอันถามแล้วในวันก่อนนั้นว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า บรรพชาของ
พระผู้เป็นอุดมอย่างไรบรรพชานี้จะให้ประโยชน์อะไรพระนาคเสนก็แก้ไขเหมือนอันวิสัชนาในวันก่อนว่า ขอถวายพระพร บรรพชานี้เพื่อจะ ให้ระงับทุกข์คือทุกข์ ๔ กอง มีชาติทุกข์เป็นต้นให้ระงับดับไป มิให้ทุกข์อื่นบังเกิด คือ จะเกิดอีกนั้นมิให้มีประการ ๑
อีกประการหนึ่งเล่า มีอรรถอันอุดมคือ จะให้ได้พระนิพพานหาเชื้อกิเลสตัณหามิได้ ขอถวายพระพร สิ้นคำวิสัชนาพระนาคเสนเท่านี้พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี เอาปัญหาที่ถามแล้ว กลับเอามาถามอีก หวังจะตั้งเป็นเหตุจะได้ถามลักษณะแห่งบุคคลบรรพชา เหตุฉะนี้พระองค์จึงมี
พระราชปุจฉาถามพระนาคเสนฉะนี้ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ลักษณะบุคคลจะเข้าบรรพชาบวชในพระพุทธุบาทศาสนานี้มีประโยชน์อย่างไร
พระนาคเสนถวายพระพรว่า ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐในสิริมไหศวรรย์คนทั้งหลายคิดต่างกัน บางพวกนั้น คือ ท้าวพระยาเบียดเบียนใช้สอย หนีออกไปบวชในพระพุทธศาสนาก็มี บางทีบรรพชาเพื่อจะให้คุ้นเคยท้าวพระยารู้จักมักใคร่ก็มี บางทีบวชเพื่อจะได้อิสริยยศเป็นที่ทางอันใหญ่ บางทีบวชเพื่อจะได้อาหารเลี้ยงชีวิต บางทีคิดกลัวภัยโจรจะคอยฆ่า กลัวภัยท้าวพระยาจะฆ่าตี กลัวภัยเจ้าหนี้จะตามทวงกลัวทั้งปวงนี้ก็หนีเข้าบรรพชา ที่ว่าจะคิดถึงตัวกลัวภัยในสงสาร ออกบรรพชาปรารถนาพระนิพพานก็มี ขอถวายพระพร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นสาคลนคร จึงมีพระราชโองการย้อนถามว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าพระผู้เป็นเจ้านี้มาบรรพชาจะปรารถนาอย่างไร นิมนต์วิสัชนาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรว่า ดูรายะมหาบพิตร อาตมานี้บรรพชาแต่ยังเป็นทารกได้ ๗ ขวบก็หารู้ไม่ ครั้นจำเริญใหญ่ขึ้นมา ท่านสมณะที่เป็นสากยบุตรพุทธชิโนรสผู้ใหญ่ฝึกสอนอาตมาโดยให้มีสติปัญญารู้ซึ่งพุทธาธิบายบัดนี้อาตมาบรรพชาก็หมายจะใคร่ได้พระนิพพานขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นสาคลนครก็รับคำสรรเสริญว่า พระผู้เป็นเจ้ากล่าวนี้สมควรแล้ว
ปัพพชาปัญหา คำรบ ๕ จบเท่านี้
มิลินทปัญหา(๘)
(๖) เชิญพระนาคเสนเข้าวัง .
แท้จริงอันดับนั้นมา สมเด็จบรมกษัตราธิราชมิลินท์ภูมินทราธิบดี ทรงพระราชดำริฉะนี้ว่า พระภิกษุรูปนี้ มีปัญญาอาจสามารถที่จะวิสัชนาได้ อาตมาจะถามโดยเหตุอันพิเศษหลาก ๆ มากนักหนา เวลานี้ก็เป็นเวลาสายัณห์ตะวันอัสดงลงลับไป ต่อวันรุ่งพรุ่งนี้จะให้นิมนต์พระนาคเสนเข้าไปสู่พระราชฐานของอาตมา จะถามอรรถปัญหาให้หลาก ๆ มากกว่านี้ ดำริแล้วพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการสั่งเทวมันติยอำมาตย์ผู้ฉลาดว่า ดูกรเทวมันติยอำมาตย์จงอาราธนาพระผู้เป็นเจ้านาคเสนให้เข้ามาสั่งสนทนากับด้วยเราในราชนิเวศน์แต่เพลาเช้าอย่าให้พระผู้เป็นเจ้าไปในที่อื่น ตรัสแล้วพระองค์ก็ลาพระภิกษุแปดหมื่นกับพระนาคเสนเสด็จถึงประตูอสงไขยบริเวณวงวัด ก็เสด็จขึ้นหลังอาชาชาติสินธพพระที่นั่งทรงพร้อมด้วยหมู่นิกรแสนจตุรงค์ พระองค์ก็ตรัสบ่นแต่ว่า นาคเสน นาคเสน มาบนหลังสินธพ พระที่นั่งกระทั่งถึงประตูพระราชวัง เสด็จเจ้ายังอันเตปุระราชนิเวศน์ตำหนักทองของพระองค์
ในกาลครั้งนั้นฝ่ายเทวมันติยอำมาตย์ ก็อาราธนาพระนาคเสนดุจกระแสพระราชโองการ ส่วนพระนาคเสนก็ชื่นบานรับอาราธนา ครั้นรุ่งราษราตรีรัศมีทิวากรสว่างกระจ่างฟ้า ฝ่ายว่าอำมาตย์ทั้งหลาย ๔ คน ชื่อว่าเนมิตติยอำมาตย์คน ๑ ชื่อว่าอันตกาย อำมาตย์คน ๑ ชื่อว่าอังกุรอำมาตย์คน ๑ ชื่อว่าสัพพทินนอำมาตย์คน ๑ สิริเป็น ๔ คนด้วยกันจึงทูลสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีว่า ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อมเพลาเช้าวันนี้ทรงพระกรุณาจะให้พระนาคเสนมาสู่ราชฐานหริอประการใดจึงมีพระราชโองการตรัสว่า เออให้เธอเข้ามาเถิดอำมาตย์จึงทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ พระภิกษุบริวารพานจะมากถึงแปดสิบพันจะโปรดให้พระนาคเสนนั้นนิมนต์มาด้วยเท่าไรจึงมีพระราชโองการตรัสว่า ตามแต่ในพระนาคเสนท่านจะพามาสัพพทินนอำมาตย์จึงทูลว่า ขอพระราชทานให้พระนาคเสนนิมนต์พระสงฆ์มาด้วย ๑๐ องค์ อย่าให้เอามามากเลย
พระราชโองการตรัสว่า สัพทินนะเอ่ย อย่าบังคับเลย ตามในท่านจะมาเถิด สัพพทินนของที่จะเลี้ยงพระภิกษุนี้สินไปไม่มีหรือประการใด ท่านจะเจ้ามาเท่าไรตามใจท่าน โภชนาอาหารในราชฐานของเรามีเป็นนักเป็นหนา จังหันจะไม่พอเพียงที่จะเลี้ยงท่านหรือประการใดสัพพทินนะฟังพระราชโองการก็ก้มหน้านั่งนิ่งอยู่ หารู้ที่จะรู้ทูลทัดขัดพระราชโองการไม่ส่วนอำมาตย์ทั้ง ๔ ได้สวนาการฟังกระแสพระราชโองการฉะนี้ อำมาตย์ทั้ง ๔ คือสัพพทินนะ เนมิตติยะ
เจ้าอังกุระและเจ้าอันตกายะ ก็พากันถวายบังคมลาลุกมาขมีขมันมิทันใดก็ถึงอสงไขยบริเวณ จึงเข้าไปสู่สำนักพระนาคเสน องค์เอกอเสกขบุคคล นิมนต์พลันว่าข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า มีพระราชโองการให้กระหม่อมฉันมานิมนต์พระเจ้าให้เข้าไปฉันยังนิเวศน์วังใน กับภิกษุบริวารมากเท่าใดก็ตามน้ำใจพระผู้เป็นเจ้าจะพาเข้าไปในกาลบัดนี้
ขณะนั้นพระนาคเสนองค์พระอรหันต์อันมีอายุมิ่งมงกุฎโมลีโดยฟังอำมาตย์ทั้ง ๔ อาราธนา ก็นุ่งสบงทรงจีวรมีพระกรจับบาตรพาสงฆ์แปดหมื่นลีลาศมาเป็นอันดับกัน แต่เพลาเข้าพระผู้เป็นเจ้าก็เจ้าสู่พระราชธานี ฝ่ายอำมาตย์ทั้ง ๔ ก็ตามไปด้วยกัน
มิลินทปัญหา(๗)
(๕) เถรัสสติกขปฏิภาณปัญหา คำรบ๓.
ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี มีสุนทรพจนารถพระราชโองการถามอรรถปัญหาสืบไปว่า ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าอันว่าบรรพชาของพระผู้เป็นเจ้านี้ มีประโยชน์อันอุดมดีอย่างไรประโยชน์ด้วยสิ่งอันใดจึงบรรพชา พระผู้เป็นเจ้าจงวิสัชนาแก้ไขให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนจึงถวายพระพระว่า ดูกรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐในสิริราชมไหศวรรย์ บรรพชาของอาตมานั้นเป็นประโยชน์ดับเสียซึ่งทุกข์ที่มีในสันดาน แล้วมิให้ทุกข์ประการอื่นบังเกิดได้ ประการหนึ่งบรรพชาของอาตมานี้ประเสริฐยิ่งนัก จักให้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์นิกรเทวดา มนุษย์นิกรเทวดาไหว้นบเคารพบูชาถวายไทยทาน บรรดาที่จะให้เกิดผลเมื่อสิ้นชนม์มรณกาลแล้ว เดชะผลที่ได้กระทำสักการถวายทานแก่รูปอันบรรพชาก็จะปิดเสียซึ่งประตูจตุราบาย ก็จะได้ไปชมสมบัติ ๓ ประการ คือมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติเหตุฉะนี้รูปจึงว่า บรรพชาของรูปนี้โสด จะให้เป็นประโยชน์แก่นิกรมนุษย์เทวดาทั้งหลายขอถวายพระพร
พระจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นสาคลนคร ได้ทรงฟังพระนาคเสนสำแดงแจ้งกระจ่าง ก็มิได้มีทางที่จะซักไซ้ ก็หันเหเสประภาษพจนารถอื่นไปว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้านาคเสนโยมนี้อยากจะใคร่พูดอยากใคร่เจรจาพาทีกันด้วยพระผู้เป็นเจ้านักหนา
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า ดูรานะมหาบพิตรจะเป็นอะไร ตรัสว่ากระไรจงตรัสเถิด แต่บพิตรผู้ประเสริฐอย่าประภาษด้วยราชวาท จงตรัสกับอาตมาเป็นบัณฑิตวาท
พระเจ้ามิลินท์นรินทรราชจึงประภาษถามว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า บัณฑิตวาทนักปราชญ์เจรจานี้เจราจาประการใด โยมยังสงสัยอยู่ นิมนต์วิสัชนาไปก่อน
อ้อ ขอถวายพระพร ธรรมดาว่าปราชญ์เจรจาย่อมสุนทรอ่อนหวานมิได้เจรจาหักหาญข่มขี่กระทำดีเรียบร้อย ถ้อยคำย่อมกระทำให้วิเศษต่าง ๆ ย่อมกระทำปฏิเสธกั้นกางการอกุศลกรรม ย่อมกระทำเคล้าคลึงโน้มน้อมเข้าในสิ่งเป็นกุศล มีรักษาศีลให้ทานเป็นต้น มิได้กำเริบรานร้ายกาจ ธรรมดาว่าปราชญ์ย่อมเจรจาดุจอาตมาวิสัชนาฉะนี้ขอถวายพระพร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการถามว่า ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าผู้ฉลาด อีกประการหนึ่งที่พระผู้เป็นเจ้าว่าราชวาทคือคำกษัตริย์ขัตติยมหาศาล นั้นเป็นประการใด จงวิสัชนาให้โยมฟังก่อน
ขอถวายพระพร บรมกษัตริย์ขัตติยมหาศาลจะตรัสย่อมหักหาญเอาด้วยปัญญาของตนปฏิญาณในวัตถุสิ่งเดียว ได้ตรัสให้กระทำดังนี้ ถ้ามีผู้ใดขัดพระราชโองการโสด โทษก็มียิ่งแก่ผู้นั้น อันกษัตริย์นี้จะตรัสเจรจาพาทีมิได้อนุโลมตามใคร ความกระนี้จึงไม่ให้ตรัสด้วยอาตมาเป็นคำราชวาท บพิตรจะตรัสเป็นราชวาทกับอาตมา อาตมาก็มิได้สนทนาด้วยบพิตรพระราชสมภาร ในกาลบัดนี้
ขณะนั้นสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า โยมนี้จะเอาคำนักปราชญ์มาเจรจา มิได้พูดกับพระผู้เป็นเจ้าโดยคำท้าวคำพระยา
อ้อ ถ้ากระนั้นจะตรัสอย่างไรเร่งตรัสมาเถิด ขอถวายพระพร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นสาคลนคร จะลองปัญญาพระผู้เป็นเจ้าว่าจะเขลาเคลิ้มประการใดจึงตรัสไต่ถามเป็นสำนวนลมปากเปล่าอีกเล่าว่า โยมจะถามพระผู้เป็นเจ้า
บพิตรจะถามอย่างไร จงถามเถิด
โยมถามแล้ว
ขอถวายพระพร อาตมาแก้แล้ว
พระผู้เป็นเจ้าแก้อย่างไร จงวิสัชนาให้แจ้งก่อน ขอถวายพระพร อาตมาแก้แล้ว
พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีไต่ถามปัญหาสำนวนเปล่าเช่นนี้ทีหนึ่งแล้วกลับมาถามซ้ำอีกเล่า หวังจะลองปัญญา
พระนาคเสนว่าจะเขลาหรือฉลาด จะยั่งยืนอยู่ไม่ครั่นคร้ามหรือประการใดเท่านั้น
เถรัสสติกขปฏิภาณปัญหา คำรบ ๓ จบเท่านี้
มิลินทปัญหา(๖)
(๔) วัสสปัญหา คำรบ๒.
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามวัสสปัญหาสืบต่อไปว่าข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้ามีวรรษาเท่าไร
พระนาคเสนถวายพระพรว่า อาตมามีวรรษาได้ ๗ วรรษา
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสซักว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้านาคเสน วรรษานับได้ ๗ ปีนั้น นับพระผู้เป็นเจ้าเข้าด้วยหรือ หรือว่านับแต่ปีนั้น ๗ มิได้อาศัยผู้เป็นเจ้า ในกาลบัดนี้
ดังจะรู้มาว่า พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีวันนั้นทรงเครื่องปิลันธนาภรณ์พวกดอกไม้มีพระฉายปรากฏลงไป
ที่อุทกมณิกากะละออมแก้ว
พระนาคเสนเห็นประจักษ์แล้วจึงถวายพระพรว่า ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐในสิริมไหศวรรย์
พระฉายที่ปรากฏในกะละออมแก้วนั้น นับเนื่องอาศัยในพระองค์ของมหาบพิตรด้วยหรือประการใด
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นสาคลราชธานีจึงมีพระราชโองการตรัสว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าเงาที่ปรากฏในกะละออมแก้วนี้ก็อาศัยเนื่องไปแต่ตัวโยม
พระนาคเสนก็โน้นน้อมเป็นอุปมาว่า ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐในสิริมไหศวรรย์ วรรษาของอาตมานี้ก็เหมือนกัน อาศัยอาตมาบรรพชามาคณนานับได้ ๗ พระวรรษา ในกาลบัดนี้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นพิภพ ได้ทรงฟังก็นอบนบซ้องสาธุการว่า สธุสะปัญหาเปรียบของพระผู้เป็นเจ้า
เอามาเปรียบนี้ไม่ผิด ฟังนี้วิจิตรอัศจรรย์ครัน
วัสสปัญหา คำรบ ๒ จบเท่านี้
มิลินทปัญหา(๕)
(๑) วัญจนปัญหา.
ในกาลนั้นแท้จริง พระนาคเสนผู้มีอายุนั่งอยู่ในที่ใดพระยามิลินท์ก็เข้าสู่สถานที่นั้น ครั้นเข้าไปใกล้แล้ว บพิตรเจ้าจึงกล่าวซึ่งสัมโมทนียกถา ควรจะลึกสิ้นกาลช้านาน แล้วก็ทรงนิสัชนาการนั่งในที่สมควรข้างหนึ่ง ฝ่ายพระนาคเสนผู้มีอายุ ก็สนทนาด้วยถ้อยคำเป็นที่ยังจิตแห่งพระยามิลินท์ให้ชื่นชมโสมนัสปสันนาการสมเด็จบรมกษัตริย์พระเจ้ามิลินท์ จึงทรงปุจฉาซึ่งอรรถปัญหาประถมว่า ข้าแต่พระนาคเสนผู้จำเริญ โยมนี้ปรารถนาจะใคร่เจรจาด้วยพระผู้เป็นเจ้า พระนาคเสนจึงว่า ดูกรบพิตรผู้ประเสริฐ บพิตรจงเจรจาไปเถิด อาตมภาพ ก็ปรารถนาจะใคร่ฟัง
พระยามิลินท์จึงมีพระวาจาว่า "ข้าพเจ้าเจรจาแล้ว พระผู้เป็นเจ้าจงฟังเอาเถิด"
"พระนาคเสนจึงว่า อาตมภาพฟังแล้ว"
"พระยามิลินท์จึงว่า พระผู้เป็นเจ้าว่าฟังแล้วได้ยินอย่างไร"
"พระนาคเสนจึงว่า ก็บพิตรว่าเจรจาแล้วนั้นเจรจาอย่างไรเล่า"
"พระยามิลินท์จึงว่า ข้าพเจ้าจะถามพระผู้เป็นเจ้า"
"พระนาคเสนจึงว่า ดูกรบพิตร พระองค์จะถามก็ถามเถิด"
"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าถามแล้ว"
"ดูกรบพิตรผู้ประเสริฐ อาตมาก็วิสัชนาแล้ว"
"พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาอย่างไร"
"ก็บพิตรถามอาตมภาพอย่างไรเล่า"
ในเมื่อพระยามิลินท์และพระนาคเสนปุจฉาวิสัชนากันดังนี้แล้ว ชาวโยนกห้าร้อยก็พากันให้สาธุการแก่พระนาคเสน แล้วจึงกราบทูลแก่พระยามิลินท์ว่า ข้าแต่สมเด็จบรมบพิตรผู้ประเสริฐ ขอเชิญพระองค์ทรงปุจฉาซึ่งอรรถปัญหาแก่พระนาคเสนต่อไปในกาลบัดนี้
มิลินทปัญหา(๔)
(๒๒) บรรลุพระอรหัตต์.
ในกาลนั้นยังมีพระติสสทัตตภิกขุรูปหนึ่งไปเรียนพระพุทธวจนะเป็นสิงหลภาษาในเมืองลังกาจบแล้ว ปรารถนาจะเรียนพระพุทธวจนะอันเป็นมคธภาษา จึงโดยสารสำเภามาสู่ชมพูทวีปนี้ จึงไปสู่สำนักพระธรรมรักขิต นมัสการแล้วก็ประดิษฐานอยู่ที่นั้น ได้ยินคำพระนาคเสนว่าจะขอเรียนพระพุทธวจนะดังนั้น จึงว่าขึ้นบ้างว่า ข้าพเจ้าอุตส่าห์มาแต่ลังกาก็ปรารถนาว่าจะเรียนพระพุทธวจนะ ขอพระคุณเจ้าจงบอกพระพุทธวจนะให้แก่ข้าพเจ้าเถิด ฝ่ายว่าพระธรรมรักขิตนั้นจึงว่ากับพระนาคเสนว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ท่านจงเรียนพระพุทธวจนะให้พร้อมกันด้วยเจ้ากูติสสทัตตะ จงสังวัธยายให้พร้อมกันทีเดียวอย่าร้อนรนเลย เราจะบอกให้แก่ท่านพร้อมกันทีเดียวในกาลบัดนี้ พระนาคเสนจึงว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้ามิอาจที่จะเรียนพระพุทธวจนะพร้อมกันด้วยคำสิงหลภาษาได้ ด้วยพระติสสทัตตะนี้เจรจาเป็นสิงหลภาษาด้วยประการดังนี้เป็นคำปุจฉาว่า เหตุไฉนเมื่อพระอาจารย์ว่า จะให้พระติสสทัตกับพระนาคเสนเรียนพระพุทธวจนะพร้อมกัน พระนาคเสนนั้นว่าไม่เรียนพร้อมกัน ด้วยพระติสสทัตกล่าวคำสิงหลภาษาวิสัชนาว่า พระนาคเสนสำคัญว่า อาจารย์จะบอกพระพุทธพจน์เป็นคำสิงหลภาษาสิงหลภาษานี้เป็นคำวิเศษ คนชาวประเทศสาคลราชธานีจะได้เข้าใจหามิได้ พระนาคเสนนั้นตั้งใจ จะเรียนพระพุทธวจนะที่จะให้เข้าใจชาวสาคลนคร มีกรุงมิลินท์นรินทรเป็นประธาน เหตุฉะนี้จึงขัดอาจารย์ อาจารย์ว่าให้เรียนด้วยกันถ้วนถึง ๓ ครั้ง พระนาคเสนถอยหลังคิดไว้ว่าอาจารย์ไม่บอกโดยสิงหลภาษาดอก จะบอกเป็นมคธภาษา แล้วพระนาคเสนมาดำริว่า อาตมา กล่าวถ้อยคำว่าไม่เรียนด้วยชีต้น สิงหลภาษานี้เป็นคำไม่ดี ดูหยาบช้าเป็นภาริยกรรมเกินนักหนา พระนาคเสนคิดแล้วจึงขอขมาพระติสสทัต พระติสสทัตก็รับขมาว่าสาธุ แต่นั้นมา พระนาคเสนก็เรียนพระพุทธวจนะในสำนักพระธรรมรักขิตพร้อมด้วยพระติสสทัตตเถระ ท่องสังวัธยายทีฆนิกายด้วยนิเทศสำแดงเหมือนกันอันเดียวกัน ก็เรียนพระพุทธวจนะเป็นพยัญชนะนั้น ๓ เดือนเรียนพระพุทธวจนะเป็นอรรถกถา ๓ เดือน สิริเป็น ๖ เดือนด้วยกันจงจบพระไตรปิฎกทั้งตัวและอรรถกถา พระธรรมรักขิตเห็นพระนาคเสนเป็นปุถุชนอยู่ จึงมีเถรวาจาเป็นทางจะให้รู้โดยคำอุปมาว่า ดูกรนาคเสนภิกษุ ธรรมดาว่านายโคบาลเลี้ยงโคไม่รู้จักรสนมโค ผู้อื่นได้ซึ่งน้ำนมโคกินรู้จักรสน้ำนมโคว่ามันหวาน แม้เปรียบปานฉันใด บุคคลที่เป็นปุถุชนหนาไปด้วยราคาทิกิเลส จะทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎกอันวิเศษนี้ มิได้รู้รสแห่งสามัญภาคี คือมรรคผลอันเป็นส่วนควรแก่สมณะ เปรียบปานเหมือนยายโคบาลรับจ้างท่านเลี้ยงโค และรีดนมโคขายมิได้ซิมลิ้มเลียรสนมโคฉันใด ท่านจงรู้ด้วยประการดังนี้ พระนาคเสนได้ฟังคาถาอุปมา จึงมีวาจาว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ได้โปรดงดพระพุทธวจนะก่อน ที่พระผู้เป็นเจ้าสั่งสอนกำหนดเท่านั้น ข้าพเจ้าจะผ่อนผันพิจารณาดูให้รู้รสสามัญภาคี พระนาคเสนว่าเท่านี้แล้วก็ลามาสู่อาวาส ปัญญาฉลาดปลงลงในวิปัสสนากรรมฐาน ส่องปัญญาญาณไป ก็ได้สำเร็จในพระจตุราริยสัจ ก็ได้พระอรหัตตปฏิสัมภิทา โดยภาคราตรีวันพระธรรมรักขิตเถระให้นัยนั้นแท้จริง ขณะนั้นเกิดอัศจจรย์ แผ่นดินบันลือลั่นหวั่นไหวไปมาเหตุฉะนี้ พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวพระคาถาว่าอันว่าหีบอันบีบน้ำอ้อยเสียงสนั่นฉันใด แผ่นดินก็กึกก้องร้องหวั่นไหวไปมีอุปไมยเหมือนดังนั้น อันว่าหีบบีบน้ำมัน ทุบตีน้ำมันด้วยกงจักรหันผัดผันไป มีครุวนาฉันใด เมทนีไหวหวั่นเวียนไปก็ปานกัน สาครก็สนั่นเป็นระลอกชลาสินธุ์ อันว่าพระยาเขาเมรุมาศ โอนมิ ก็โน้นยอดเอนเอียง อันว่าสัททะสำเนียงเสียงกระหึ่มหึ่งหึ่ง ก็ระดมดังอึงไปเกลื่อนกลุ้ม ในสิเนรุราชสิขรเขาหลวงหลักโลกเลิศกว่าเขาทั้งปวง ปางนั้นชั้นฉกามาพจรหมู่อมรสุรางคนิกรก็สโมสรสาธุการเชยชม พรหมเจ้าฟ้าในมหาโสฬส เสียงตบพระหัตถ์ตรัสสรรเสริญซึ่งศีลคุณห่าฝนทิพยจันทน์จุณมณฑาทิพบุปผา ในช่อชั้นฟ้าทุกเภทพรรณ ยิ่งตกลงมาประหนึ่งว่าจะมีวิญญาณบูชาขณะเมื่อพระผู้เป็นเจ้าได้บรรลุพระอรหัตตาภิเษกเป็นอริยเอกอรหันต์ในกาลนั้น
มิลินทปัญหา(๓)
(๑๕) นาคเสนออกบวช.
อันดับนั้น นาคเสนทารกได้สวนาการฟัง วจนํ ซึ่งถ้อยคำพระโรหณเถระผู้มีอายุ จึงกระทำเป็นไม่กินข้างปลาหน้าตาโศกเศร้า เฝ้าวิงวอนจะให้บิดามารดาอนุญาตให้บรรพชา ฝ่ายว่าบิดามารดาก็มาคิดว่า กุมารลูกของเรานี้จะไปเรียนความรู้วิชาเรียนได้แล้วก็จะกลับมา ไม่ควรที่จะห้ามไว้ จึงให้อนุญาตว่าอย่าทุกข์อย่าโศกไปเลย จงกินข้าวปลาอาหาร จะไปเรียนความรู้วิชาการก็ตามใจ ส่วนนาคเสนกุมารได้ฟังดังนั้นก็ชื่นชมอภิรมย์หรรษาบริโภคโภชนาหารแล้วก็ลาบิดามาราดไปด้วยพระโรหณะ พระโรหณะก็พานาคเสนกุมารไปสู่วัตตนิยเสนาสนะ แล้วก็ไปสู่วิชัมพุวัตถุเสนาสนะจะแก้ไขด้วยเสนาสนะที่อยู่อันชื่อว่าวัตตนิยะและวิชัมพุวัตถุให้แจ้งชัดวัตตนิยะนั้นแปลว่าประเทศควรแก่จะอยู่กระทำปรนนิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน วิชัมพุวัตถุเสนาสนะนั้น แปลว่าเสนาสนะที่อยู่อันปราศจากลามกมลทินสะอาดผ่องแผ้วนี้แลพระโรหณะยับยั้งอยู่ที่นั้นคืนหนึ่งแล้ว ก็พาเจ้าาคเสนกุมารอันครธานหาไปปรากฏที่ถ้ำรักขิตเลณะ ตรงหน้าพระอรหันต์ ๑๐๐ โกฏิอันลงโทษพรหมทัณฑ์แก่อาตมา
มิลินทปัญหา(๒)
(๖) มักขลิโคสาลแก้ปัญหา.
ส่วนสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ก็เสด็จไปยังสำนักมักขลิโคสาล จึงมีพระราชโองการถามว่าข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า มนุษย์บุรุษสตรีหญิงชาวโลกนี้ จะกระทำกุศลและอกุศล จะมีผลจะมีประโยชน์หรือหามิได้
ครูมักขลิโคสาลถวายพระพรว่า ข้าแต่บพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ ผลบุญผลกรรมไม่มี ท่านที่เป็นกษัตริย์ขัตติยมหาศาลทั้งปวง ครั้นถึงแก่ทิวงคตล่วงไปแล้ว จะเกิดมาในโลกเล่าเคยเป็นกษัตริย์ก็ได้เป็นกษัตริย์อยู่อย่างนั้น ที่เป็นพราหมณ์ก็ดี เป็นเศรษฐีคหบดี พ่อค้าชาวนาพ่อครัว คนอนาถา คนจัณฑาลก็ดี ตายจากโลกนี้จะเกิดมาอีกเล่า เคยเป็นอย่างไรก็เกิดเป็นอย่างนั้นเหตุฉะนี้ จึงว่าผลบุญผลกรรมที่กระทำชั่ว กระทำดีนั้น ไม่มีสิ้นทั้งนั้น ขอถวายพระพร สมเด็จพระเจ้ามิลินท์จึงมีพระราชโองการตรัสโต้ว่าพระผู้เป็นเจ้าสิว่าผลกรรมไม่มีใครเคยเป็นเศรษฐีคหบดีและเพศต่าง ๆนั้น ครั้นตายไปเกิดมาใหม่เล่า ผู้นั้นก็เป็นตามเพศเก่าของตน ถ้ากระนั้นก็คนโทษที่ต้องตัดตีนสินมือนั้น ไปชาติหน้าก็จะเกิดเป็นคนโทษต้องตัด ตีนสินมืออีกหรือ ครูมักขลิโคสาลก็ถวายพระพรว่า กระนั้นแหละซิพระราชสมภาร คนโทษที่ตัดตีนสินมือนี้ไปชาติหน้าก็เกิดสำหรับที่เขาจะฆ่าตี ต้องตัดตีนสินมือไปทุกชาติ ๆ จะได้รู้สิ้นหามิได้พระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์จึงมีพระราชโองการตรัสว่า โยมจะได้เชื่อหามิได้ ครูมักขลิโคสาลก็จนใจไม่รู้ที่จะอุปมาอุปไมยให้เห็นได้ด้วยปัญญาเป็นมิจฉาทิฐิลัทธิ
มิลินทปัญหา(๑)
(๑) อารัมภบท.
ยังมีวงศวเรศกษัตริย์ทรงพระนามบัญญัติชื่อว่ากรุงมิลินท์ เป็นปิ่นมนุษย์ในสาคลราชธานีนคร พระองค์เสด็จเข้าไปใกล้แล้วไต่ถาม ซึ่งปัญหาแก่พระนาคเสนนั้น มีอุปมาดุจกระแสน้ำในคงคาทั้ง ๕ ห้วง อันไหลล่วงเข้าสู่สมุทรสาครอันใหญ่ จะได้ไหลละหลั่งถั่งเทไปอื่นหามิได้ ถึงจะไหลมาอีกสักเท่าไร จะได้ล้นไปหามิได้ น้ำในคงคาเปรียบเหมือนพระบวรปรีชาของพระเจ้ามิลินท์ และพระมหาสมุทรนั้นเปรียบดังพระบวรปรีชาปัญญาของพระบวรเสนนี้
คัมภีรภาพลึกซึ้งไม่รู้สิ้นสุด เหมือนพระมหาสมุทรอันลึกและกว้างใหญ่ ถึงพระเจ้ามิลินท์จะถามปัญหาไปสักเท่าไรก็ไม่รู้จนไม่รู้สิ้นปัญญาถึงปัญหาจะคัมภีรภาพจะลึกซึ้งประการใด พระนาคเสนก็แก้ได้วิจิตรแจ้งไปด้วยอุปมาอุปไมยให้รุ่งเรืองสว่างสติปัญญา มีอุปมาดุจหนึ่งว่าอุกกาธารใต้และเทียนและคบเพลิงอันส่องแสงในที่มืดให้สว่างกระจ่างแจ้งไปในเพลาราตรีเมื่อแรมโรยรัศมีมีพระจันทร์ ข้อปุจฉาและวิสัชนากันแห่งท่านทั้งสอง ก็ต้องนัยและอรรถะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)